เช่น ปัญหาความยั่งยืนทั้ง 17 ข้อของ SDG นั้น จนส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และกลายเป็นธุรกิจ startup ซึ่งน้อง ๆ ที่เป็นผู้แข่งขันในรายการต่าง ๆ เหล่านี้ บางคนก็เติบโตเป็นผู้ประกอบการ บางคนก็นำทักษะนี้ไปสร้างสรรค์งานในบริษัท หรือบางคนก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยนำสิ่งที่เรียนรู้นี้ไปปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ผมได้มีโอกาสมาร่วมงานแถลงข่าวการแข่งขัน SCG Bangkok Business Challenge (BBC) ที่จัดโดย Sasin School of Management ซึ่งปีนี้มีผู้แข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 172 ทีม ที่มาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 42 แห่งใน 16 ประเทศ 5 ทวีป ที่ถูกคัดเลือกให้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 20 ทีม ซึ่งจะแข่งขันกันในระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2023 นี้ โดยผมได้รับเกียรติจากทาง Sasin ให้ร่วมเป็นกรรมการด้านความยั่งยืนในการแข่งขันรายการนี้มานานมาก ก่อนที่จะเรียกว่า BBC เสียอีก จึงได้มีโอกาสทบทวนอดีต และได้นั่งพูดคุยกับผู้ก่อตั้งและคณะทำงาน ว่าเราเริ่มทำเรื่องเหล่านี้กันมานานแค่ไหนแล้ว และเรามีความตั้งใจต่อไปอย่างไร ซึ่งการพูดคุยกัน ทำให้พบว่าไม่น่าเชื่อเลยว่า การแข่งขันนี้ ได้เริ่มมา 21 ปีแล้ว โดยตอนนั้น Sasin ตั้งใจจะพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่เดิมนักศึกษาจะเรียนรู้วิธีทำธุรกิจโดยเรียนเป็นรายวิชาและเน้นภาคทฤษฎีเป็นหลัก ซึ่งกำหนดให้ในแต่ละวิชามีความรู้ และ case study ที่ต่างกัน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทดลองทำ ทำให้นักศึกษาบริหารธุรกิจมิได้ไปร่วมเรียนรู้กับนักศึกษาต่างสาขา ซึ่งต่างจากชีวิตจริงในโลกของการทำงาน ที่นักบริหารจะต้องทำงานร่วมกับผู้คนหลากหลายสาขา ส่งผลทำให้ทักษะเหล่านี้จึงขาดหายไป นอกจากนี้การแข่งขันแผนธุรกิจสมัยนั้นมักจะเริ่มจากการให้นักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น รวมตัวกันเป็นทีมมา โดยทุกคนจะได้นำความรู้ความสามารถที่แตกต่างมาร่วมกันทำงานในรูปแบบบริษัทจำลอง แล้วออกไปหาปัญหาสังคมเพื่อคิดค้นนวัตกรรมมาแก้ปัญหานั้น เพื่อร่วมกันทำแผนธุรกิจที่เป็นจริง ซึ่งการแข่งขันนี้จะช่วยแสดงศักยภาพการเติบโตในอนาคตได้

อย่างไรก็ดี แต่ในช่วงแรก ๆ นั้น ในไทยมีเพียงทีมแข่งขันไม่กี่ทีม ที่ต่อมาค่อย ๆ ขยายสู่อาเซียน และปัจจุบันนี้ก็ได้ยกระดับกลายเป็นรายการแข่งขันระดับโลกที่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างตื่นเต้นที่จะเข้าร่วมแข่งขัน โดยแต่ละทีมเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาคณะต่าง ๆ ทั้งในมหาวิทยาลัยเดียวกันและต่างมหาวิทยาลัยกัน โดยโจทย์ส่วนใหญ่เป็นปัญหาสำคัญของโลกที่ซับซ้อน และปัญหาความยั่งยืน ที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะสหวิทยาการ โดย 21 ปีที่ผ่านมา ตัวอย่าง Business Competition ที่ Sasin ผลักดันไว้นั้น ช่วยสร้างผู้ประกอบการ นักคิด นักนวัตกรรม นักบริหาร และผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากมายไว้ทั่วโลก และหลายคนในวันนี้ ก็กลับมาเป็นผู้สนับสนุน เป็นอาสาสมัคร เป็นโค้ช เป็นกรรมการตัดสิน ซึ่งสนามจำลองให้นักศึกษาได้ลองแข่งขัน ลองเล่น ลองล้มนี้ กำลังเป็นที่นิยม และได้ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับแวดวงการศึกษาไทย ตลอดจนช่วยสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ๆ ที่มีเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมากมาย ซึ่งผมคิดว่ากิจกรรมรูปแบบ Business Competition นับเป็น “นวัตกรรมของนวัตกรรม” ที่จะพาเราสู่…ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้ในอนาคต.