อันดับ 10 ความล่าช้าของการสร้างธรรมนูญร่วมกับเพื่อนบ้าน ในการจัดการทรัพยากร และความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง  

อันดับ 9 ปัญหา สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ และความรับผิดชอบในการแสดงออกนั้น ความเป็นธรรมในขบวนการยุติธรรม และสิทธิการับรู้ข้อมูลสาธารณะที่เท่าเทียม

อันดับ 8 มีสองเรื่อง ได้แก่ 8.1 การระบาดของยาเสพติดรูปแบบใหม่ๆ เส้นทางการค้าขายที่แข็งแรง หลากหลายขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาในระดับภูมิภาค 8.2 ค่าไฟฟ้าราคาที่แพงผิดปกติ ซึ่งเกิดจากปัญหาโครงสร้าง การจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใส และการเอื้อประโยชน์นายทุน

อันดับ 7 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การหลอกลวงของมิจฉาชีพ ที่เข้าถึงตัวได้ง่าย ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เหมือนจริง

อันดับ 6 ความขัดแย้งทางการเมืองระดับท้องถิ่น การแตกแยก แบ่งพรรค แบ่งพวก และแย่งชิงอำนาจ และทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่จำกัด ผ่านขบวนการประชาธิปไตยที่ยังไม่เต็มใบ

อันดับ 5 ความรุนแรงในขบวนการยุติธรรม ความไม่โปร่งใส ไร้คุณภาพในหลักนิติธรรม อิทธิพลมืดของพ่อค้า ข้าราชการ และนักการเมืองที่ไม่ดี ยังคงครอบงำขบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ

อันดับ 4 ความหายนะของมลพิษทางอากาศ ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 เป็นวิกฤติใหม่ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกๆปี อันดับ 3 ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น ไม่สอดคล้องกับรายได้ ความสมดุลของการเติบโตทางธุรกิจ แรงงานขั้นต่ำ และโอกาสในการประกอบอาชีพ ยังคงถดถอยอย่างหนัก หลัง Covid-19

อันดับ 2 ความรุนแรงสุดโต่ง ในมิติต่างๆ ประเด็นนี้ไม่เพียงปัญหาเรื่องอาวุธปืน แต่เกี่ยวพันกับปัญหาสุขภาพทางจิต และความเหลื่อมล้ำต่างๆ ที่ถูกกดทับอย่างต่อเนื่องจนทนไม่ไหวอีกต่อไป

อันดับ 1 การทุจริต และประพฤติมิชอบในสังคมไทย แม้เราจะจัดงานแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านคอร์รัปชั่นกันบ่อยครั้ง ก็คงแก้อะไรไม่ได้เลย ถ้าเราไม่กล้าหาญพอที่จะพูดความจริง และร่วมมือกันต่อสู้เรื่องนี้อย่างจริงจัง

จากความคิดเห็นของประชาชนที่ตอบคำถาม จะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจาก SDG 16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง ที่อาจตีความได้ว่า กลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญคือ ธรรมาภิบาล Corporate Governance ยังอ่อนแอ แม้ความรับผิดชอบติอสังคม Corporate Social Responsibility จะพัฒนาไปไกลแล้ว …