สำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ประกอบด้วยส่งเสริมยกระดับการพัฒนาการประกอบธุรกิจ คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรคุ้มค่า พัฒนากระบวนการผลิต การจัดการของเหลือทิ้ง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวผ่านส่งเสริมการพัฒนาตามแนวทางอีเอสจี ส่งเสริมให้เกิดระบบ Greening Supply Chain โดยยกมาตรฐานโรงงานในส่วนของผู้ผลิต และผู้ให้บริการกำจัดและบำบัดของเสียให้เป็นที่ยอมรับ

การส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมสู่สังคมคาร์บอนตํ่า โดยเร่งกำหนดมาตรการช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน เช่น มาตรการสนับสนุนการลงทุนใน Green Technology ของประเทศ อาทิ เทคโนโลยี Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) เทคโนโลยี Green Hydrogen และ Infrastructure ต่าง ๆ รวมถึงมาตรการสำหรับช่วย SMEs ในการปรับตัว ตลอดจนสนับสนุนการใช้กลไกตลาดที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ตลาดคาร์บอนเครดิตในวงกว้างขึ้น และให้มีแผนงานและมาตรการที่ชัดเจน โดยเฉพาะมาตรการในการอนุรักษ์หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยสร้างความร่วมมือภาคธุรกิจเอกชนในการขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ผลักดันและสนับสนุนให้มีการขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นแกนกลางสำคัญของเศรษฐกิจโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ มีมาตรการสนับสนุนและช่วยเหลือเพื่อให้ SMEs พัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่หรือมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว กลุ่มนี้ต้องเข้าไปช่วยเรื่องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษี การจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่มในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ BCG หรือ CE หรือ Carbon Neutrality/Net Zero

ภาคธุรกิจขนาดกลาง ที่ต้องเข้าไปสนับสนุนทั้งในแง่แหล่งเงินทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจแบบเดินสู่แนวทางที่คำนึงถึง BCG รวมถึงกองทุน หรือ แหล่งเงินทุนที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ภาคธุรกิจขนาดเล็ก ทั้ง SME และ Micro SMEs ที่เป็นผู้ประกอบการที่มีจำนวนมากสุดของประเทศที่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง BCG หรือ CE หรือ Carbon Neutrality/Net Zero

ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ และหากรณีความสำเร็จ ที่จะเป็นโมเดลต้นแบบให้เดินตามได้ รัฐบาลต้องมีมาตรการจูงใจให้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม ทั้งด้านบุคลากร ทรัพยากรต่าง ๆ เข้ามาช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากแหล่งเงินทุนที่รัฐบาลต้องมีมาตรการสนับสนุนที่ชัดเจน เพราะถือเป็นกลุ่มที่ยังไม่เข้มแข็งและต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน.