กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารภายใต้หลักสูตร KU-VIPS รุ่นที่ 1 ได้เดินทางไปศึกษาดูงานร่วมกันที่ “เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา

การเดินทางไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ทำให้เข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ภายใต้ BCG Economy โดยผู้เขียนขออนุญาตสรุปบทเรียนไว้ ดังนี้

1. EECi เป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจุดเน้นที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสำคัญ คือ การให้ EECi เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงการวิจัยพัฒนาเข้ากับการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยสนับสนุนการสร้าง BCG Economy ด้วยเหตุนี้การพัฒนาพื้นที่ EECi จึงคล้ายคลึงกับการพัฒนา Silicon Valley ของสหรัฐอเมริกา หรือเขต Haidian District ในปักกิ่ง หรือแม้แต่ Silicon Valley of India ใน Bengaluru โดยพื้นที่ EECi นั้นตั้งอยู่ที่ วังจันทร์ วัลเลย์  (Wangchan Valley) จังหวัดระยอง

2. Wangchan Valley มี Slogan การพัฒนาเขตเศรษฐกิจ คือ Smart Natural Innovation Platform โดย EECi เปรียบเสมือนจุดเชื่อมโยงระหว่าง Laboratory Development กับ Industrial Application ทั้งนี้ แนวทางสำคัญที่ EECi เน้น ประกอบด้วย (ก) สร้างมูลค่าเพิ่มภาคเกษตร (ข) สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านภาคอุตสาหกรรม และ (ค) พัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต

3. อุตสาหกรรมเป้าหมายการพัฒนาที่ EECi ประกอบด้วยหกด้าน กล่าวคือ (ก) เกษตรสมัยใหม่ (ข) เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (ค) หุ่นยนต์&Automated (ง) แบตเตอรี่และยานยนต์สมัยใหม่ (จ) เครื่องมือแพทย์ และ (ฉ) การบินและยานอวกาศ โดย EECi นับเป็นเมืองนวัตกรรมที่สร้างความยั่งยืนภายใต้แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น BIO Polis และ ARI Polis เป็นต้น

4. ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ เรื่อง Modern Agriculture หรือเกษตรสมัยใหม่ที่ EECi ลงทุนพัฒนาทั้ง Smart Farm ที่มีสาธารณูปโภคที่เชื่อมกับ IoT การพัฒนา Phenomics Technology ซึ่งเป็นการประเมินลักษณะที่ปรากฏโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ Automation ตรวจสอบการเจริญเติบโตของพืชที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่ออกแบบ ควบคุมอย่างเหมาะสม

5.จุดมุ่งหมายของ Modern Agriculture คือ การพัฒนาภาคเกษตรที่มีประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้กับสินค้าเกษตร นำของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไปต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์

6. บทบาทของรัฐต่อเรื่อง Smart Farm ภายใน EECi คือ สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เรื่อง Precision Agricultures หรือ การสร้างการเกษตรแบบแม่นยำซึ่งสามารถคัดเลือกพันธุ์ ปุ๋ย แร่ธาต อาหารที่เหมาะสมโดยมี Digital Technology เป็นตัวช่วย

7. EECi ตอบสนองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคตที่มุ่งไปสู่ BCG Economy ซึ่งประกอบด้วย Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน และ Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว …ทั้งนี้จากการศึกษาดูงาน เราได้เห็น Plant Factory ที่รัฐลงทุนสร้างโรงเรือนทดลองเพาะปลูกขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีทั้งแบบ Biotech Genome Tech รวมถึง Digital tech รวมทั้ง Robotic and Sensing tech

8. BCG Economy ยังต่อยอดไปสู่เรื่อง Innovation Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนผ่านการสร้างนวัตกรรมที่คำนึงเรื่องความยั่งยืน การสร้าง Inclusive Economy ที่ทำให้เกิดการสร้างความเจริญเติบโตอย่างทั่วถึง และยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดีได้กับชุมชน

9. พื้นที่ EECi ใน Wangchan Valley นับเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เน้นสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันมีหลายประเทศที่สร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือพื้นที่การพัฒนาในลักษณะนี้ เช่น CleanTech Park ของสิงคโปร์ และ Guanacaste ของคอสตาริกา

10. กรณี CleanTech Park ในสิงคโปร์เป็นอีกเขตเศรษฐกิจสีเขียวที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อ BCG Economy โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาพลังงานสะอาด การใช้เทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับที่ Guancaste ในคอสตาริกา ที่รัฐบาลคอสตาริกาพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็น Eco-tourism ซึ่งเป็น Signature หนึ่งของ คอสตาริกา รวมทั้งเป็นจุดริเริ่มโมเดล BCG economy ในคอสตาริกา ทั้งเรื่องการนำ Renewable energy มาใช้ในการทำฟาร์ม Organic เป็นต้น

11. กล่าวโดยสรุป EECi ที่ Wangchan Valley ทำให้เราเห็นทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่ BCG Economy โดยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

—————————————————

Dr. Sutthi Suntharanurak และทีมวิชาการ KU-VIPS #1