ที่มุ่งเน้นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดมลพิษ และบรรเทาผลกระทบจากการประกอบการอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อีกทั้งยังขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับแนวทางการดำเนินงานหลายประเทศทั่วโลก มุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน เนื่องจากสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักในหลายพื้นที่

กนอ. แสวงหาโอกาสจากการลงทุนผ่านกลไกของบริษัทในเครือ ทั้งการจัดตั้ง/ขยายนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม และพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคให้เติบโตภายใต้รูปแบบบีซีจี โมเดล รวมทั้งบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดศักยภาพสูงสุด รวมทั้งให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาระบบขนส่งสีเขียว” และ “โครงการโรงเรียนอีโค สคูล” เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิคมอุตสาหกรรม สู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศโดยในส่วนของการจัดการด้านขนส่งสีเขียว สอดคล้องกับเกณฑ์ตัวชี้วัดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-Champion ในมิติด้านการบริหารจัดการ และ Eco-Excellence ในมิติกายภาพ ขณะที่ Eco School ส่งเสริมให้นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมมีความร่วมมือกันส่งเสริมให้เกิดชุมชนเชิงนิเวศ สอดคล้องกับเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับ Eco-World Class ในมิติด้านสังคม เพื่อการพัฒนาและยกระดับนิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในระดับต่าง ๆ ประกอบ
ด้วยระดับ Eco-Champion, Eco-Excellence และ Eco-World Class ต่อไป

วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

เพื่อส่งเสริมและยกระดับให้นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรมและโรงงาน มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการหรือกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามนโยบาย Thailand 4.0 กนอ. มีการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 ท่าเรืออุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 และโรงงานอุตสาหกรรม 4.0

กนอ.มีโครงการส่งเสริมสนับสนุนโรงงานให้เป็นโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายโรงงานอุตสาหกรรมลดก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมให้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียว หรือโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน ซึ่งโรงงานที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศได้.