ยาบางชนิดสามารถป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีได้ การสัมผัสเชื้อเอชไอวีโดยบังเอิญ ระหว่างมีเพศสัมพันธ์อาจเกิดขึ้นได้ หากเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องติดต่อผู้ให้บริการด้านการแพทย์โดยเร็วที่สุด ภายใน 72 ชั่วโมง ของการสัมผัสเชื้อเอชไอวี ผู้ให้บริการทางการแพทย์อาจสั่งจ่ายยาประเภทหนึ่งที่เรียกว่า การป้องกันโรคหลังสัมผัสเชื้อ (PEP) ยาดังกล่าวเป็นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ ซึ่งยาประกอบด้วยยา 3 ชนิด ที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อเอชไอวี รวมเป็น 2 เม็ด และมักจะทานเป็นเวลา 4 สัปดาห์

สำหรับใครก็ตามที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การป้องกันโรคก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง ยาดังกล่าวถือว่าเป็นยารายวันที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น หลักเกณฑ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐ ระบุว่า ควรพิจารณาการป้องกันโรคก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี และผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต่อเนื่องกับคู่นอนที่ติดเชื้อเอชไอวี การป้องกันโรคก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) อาจได้รับการพิจารณา สำหรับบางคนที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากับคู่นอนที่เพิ่งตรวจหาเชื้อเอชไอวีในเชิงลบ

“วินโดว์ พีเรียด” สำหรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี วินโดว์ พีเรียด (Window Period) หรือกรอบเวลา คือ ช่วงเวลาที่อาจ
จะได้รับเชื้อเอชไอวีมาแล้ว ซึ่งการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีมานั้น จะมีกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี ขึ้นต่อเชื้อ ใช้ระยะเวลาประมาณสองสัปดาห์ถึงสามเดือน ในช่วงเวลานี้ เรายังไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ วินโดว์ พีเรียด สำหรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี หมายถึงเวลาระหว่างการสัมผัสเชื้อไวรัสของบุคคลหนึ่ง กับจุดที่การตรวจเชื้อเอชไอวีจะตรวจหาเชื้อไวรัส วินโดว์ พีเรียด นี้ จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนและประเภทของการทดสอบที่ใช้ โดยทั่วไปแล้ว วินโดว์ พีเรียด โดยทั่วไปคือ 10 วันถึง 3 เดือน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบุคคลหนึ่งจะตรวจหาเชื้อเอชไอวีเป็นลบ เมื่อครบ 1 เดือน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพมักจะแนะนำให้ทำการตรวจอีกครั้ง เมื่อครบ 3 เดือน หากบุคคลนั้นเพิ่งสัมผัสเชื้อ หรือยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

เสพสมบ่มิสม : ความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (1)

————————
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล