นอกจากคำฮิตติดหูอย่าง “บิตคอยน์” หรือ “บล็อกเชน” แล้ว ในช่วงปีนี้หลายคนอาจเคยได้ยินคำใหม่ ๆ จากวงการคริปโตฯ มากขึ้น บางคำอาจเป็นสิ่งที่เราได้ยินกันมานานแล้วถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้ง ส่วนบางคำก็เป็นเทรนด์ใหม่ สิ่งใหม่ หรือการพัฒนาใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามา บทความนี้จึงขอรวบรวมคำที่กำลังได้รับความสนใจในวงการการคริปโตฯ ให้ทุกคนรวมถึงนักลงทุนคริปโตฯ มือใหม่ได้มาทำความเข้าใจกัน

NFTs (Non-Fungible Tokens)

Nft Images - Free Download on Freepik

ช่วงปีที่ผ่านมา NFT อาจถูกพูดถึงน้อยด้วยผลกระทบจากสถานการณ์ตลาดคริปโตฯ แต่สำหรับปีนี้ ก็เริ่มได้ยินข่าวของการฟื้นฟูโปรเจค NFT จากผู้พัฒนาและแบรนด์ต่าง ๆ มากขึ้น บางคนอาจยังไม่ทราบว่า NFT คืออะไร? NFT ก็คือ สินทรัพย์ดิจิทัลอีกประเภทหนึ่งที่อยู่บนบล็อกเชน มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ไม่สามารถลอกเลียนขึ้นมาได้ ต่างจากเหรียญคริปโตฯ อย่าง Bitcoin หรือ Ether (Ethereum) ที่เป็นสินทรัพย์แบบ Fungible ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว จึงนิยมใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ คล้ายกับเงินสด ที่เราสามารถใช้แบงก์ร้อยใบไหนก็ได้ซื้อสินค้าเพราะมีมูลค่าเท่ากันและเท่าเดิมทุกใบ

ส่วน NFT นั้นจะมาจากการที่สินทรัพย์มีคุณสมบัติเฉพาะตัวและถูกทำให้เป็นดิจิทัล (Digitize) ซึ่งอาจจะเป็นของโบราณหายาก รูปภาพ วิดีโอ เพลง อสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงของสะสมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถนำของประเภทเดียวกันมาทดแทนกันได้ เป็นต้น

DeFi (Decentralized Finance)

DeFi เกิดมาจากความต้องการ ที่อยากให้การทำธุรกรรมรวดเร็วกว่าเดิม ไร้ตัวกลางและมีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยเปลี่ยนจากระบบการเงินแบบดั้งเดิม (Centralized Finance-CeFi) หรือที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือ “ธนาคาร” ที่เราต้องพึ่งพาให้ช่วยดำเนินรายการธุรกรรมต่าง ๆ มีค่าธรรมเนียมสูงและระยะเวลาการดำเนินการที่นาน ดังนั้น DeFi จึงถูกสร้างมาเพื่อสร้างจัดการระบบทางการเงิน ให้ผู้ใช้สามารถส่งและรับรายการธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วบนเครือข่ายบล็อกเชน และชำระค่าใช้จ่ายเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายการทำธุรกรรมในแบบดั้งเดิมอีกด้วย

CBDCs (Central Bank Digital Currencies)

ธนาคารกลางในหลายประเทศทั่วโลกเริ่มเดินหน้าพัฒนา CBDCs ของตัวเองมาสักระยะแล้ว อย่างที่หลายคนทราบกันว่าประเทศไทยก็เป็นประเทศแรก ๆ ที่เริ่มมีการทดสอบใช้สกุลเงินดิจิทัลประเภทนี้ หรือชื่อที่เราคุ้นหูคือ “บาทดิจิทัล” ที่ออกโดยธนาคารกลางของไทย โดยเมื่อกลางปี 2565 ทางธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าจะเริ่มทดลองใช้ CBDC ในระดับพื้นฐาน (Foundation Track) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย กับกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คน ซึ่งหากสำเร็จ “บาทดิจิทัล” จะสามารถใช้จ่ายและชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

DAOs (Decentralized Autonomous Organizations)

DAOs เป็นการบริหารองค์กรแบบไร้ศูนย์กลาง มีการกระจายอำนาจให้กลุ่มคนที่ชอบอะไรคล้ายกันสามารถบริหารและกำหนดทิศทางร่วมกันได้ ผ่านการถือเหรียญที่เรียกว่า Governance Token โดยผู้ถือเหรียญสามารถทำการโหวตและนโยบายพัฒนาต่าง ๆ

DAO เป็นเทคโนโลยีที่มีหลักการมุ่งเน้นในด้านความอิสระ (Autonomous) ความโปร่งใส (Transparency) และความหลากหลาย (Variety) ปัจจุบันเริ่มมีหลายองค์กรในโลกที่ทดลองใช้ระบบ DAOs แล้ว โปรเจกต์ที่คนในแวดวงรู้จักก็จะมี Decentraland ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Mataverse แบบกระจายศูนย์ที่เสมือนจริง (Virtual) นับเป็นแพลตฟอร์มแรกที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างและเป็นเจ้าของเองได้

การปรับขนาด Layer-2

Layer-2 คือเครือข่ายบล็อกเชนย่อยที่ถูกสร้างมาเพื่อจัดการธุรกรรมขนาดเล็กแทนเครือข่ายหลัก (Mainchain) เพื่อลดภาระและความหนาแน่นของเครือข่ายหลัก ซึ่งการทำธุรกรรมผ่าน Layer-2 มักจะมีความเร็วที่สูงและค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า เมื่อถึงเวลาที่กำหนด Layer-2 ก็จะสรุปข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นและส่งข้อมูลเข้าไปเก็บไว้ในเครือข่ายหลักอีกที

Web 3.0

Design with “Web 3.0” text projected onto the background. Digital communication and virtual technology concept representing the future of the Internet

Web 3.0 คือ วิวัฒนาการขั้นต่อไปของอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันเว็บไซต์ที่เราเข้าใช้งานส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Web 2.0 แต่การพัฒนาและนำไปสู่ Web 3.0 นั้นคาดว่าจะนำโครงสร้างพื้นฐานด้านความกระจายศูนย์ (Decentralization) มาจากเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่าง Bitcoin หรือ Ethereum เพื่อทำให้ข้อมูลมีความหลากหลายและปลอดภัยมากขึ้น และอาจจะมีเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เริ่มเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำของเราอย่าง AI (Artificial Intelligence) มาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความชาญฉลาดและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนได้มากยิ่งกว่าเดิม

Interoperability

เป็นความสามารถของเครือข่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกันแต่สื่อสารกันได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและทำงานร่วมกันได้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนสินทรัพย์ระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่นเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาก

Proof-of-Stake

ระบบกลไกฉันทามติบนเครือข่ายบล็อกเชน ซึ่งผู้ตรวจสอบจะถูกเลือกโดยพิจารณาจากจำนวนสกุลเงินดิจิทัลที่วางเดิมพันเป็นหลักประกันไว้ นักพัฒนาเชื่อว่า Proof-of-Stake จะสามารถแก้ไขจุดอ่อนของ Proof-of-Work กลไกฉันทามติแบบเก่าได้ ที่แตกต่างออกไปคือ Proof-of-Stake จะมีเงื่อนไขในการรับสิทธิรับรองธุรกรรม โหนดที่สามารถตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมได้จะต้องมีการฝากทรัพย์สินขั้นต่ำไว้กับเครือข่าย โดยส่วนใหญ่จะเป็นสกุลเงินดิจิทัลของบล็อกเชนนั้น ๆ

Crypto Regulations

การกำกับดูแลธุรกิจคริปโตเคอร์เรนซี หรือสินทรัพย์ดิจิทัลในปีนี้ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง ในแต่ละประเทศจะมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับบริบทและเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น สำหรับประเทศไทยการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

Green Mining

เหมือนแร่คริปโตสีเขียวกำลังได้รับความนิยมในหมู่นักพัฒนาและผู้ประกอบการคริปโตเคอร์เรนซี โดยมุ่งหวังเพื่อจะลดใช้พลังงานไฟฟ้าในการขุดเหรียญ และเปลี่ยนเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ เพื่อใช้เป็นให้กับอุปกรณ์ขุด และในด้านงบประมาณก็จะดูคุ้มค่ากว่าการใช้แหล่งพลังงานแบบดั้งเดิมอีกด้วย และอาจส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซีได้ในอนาคต

บทความโดย: Bitkub.com/blog

_____________________________________

อ้างอิง:

https://www.bitkub.com/th/blog/whatisdefi-f6dc6916c9a8

  • Web 3.0 คืออะไร เกี่ยวกับบล็อกเชนอย่างไร?

https://www.bitkub.com/th/blog/what-is-web3-354e2ff9f930

  • เปรียบเทียบ Proof-of-Work และ Proof-of-Stake

https://www.bitkub.com/th/blog/pow-pos-7d007eede57f

คำเตือน:

  • คริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต