ทั้งนี้ เรื่องการ “ลดวิกฤติมลพิษทางอากาศ” นั้น ก็มีประเด็นน่าสนใจผ่าน “มุมกฎหมาย” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อในวันนี้ โดยเป็นข้อมูลจาก เว็บไซต์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เผยแพร่บทความวิจัยชื่อ “มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะทางบก” โดย ศ.ดร.อำนาจ วงศ์บัณฑิต ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับ ข้อจำกัดต่าง ๆ ไว้…

ที่เป็น อุปสรรคในการควบคุมมลพิษ”

จนการ ป้องกันมลพิษทำได้ไม่เต็มที่”

รวมถึง มีข้อเสนอเพื่อแก้วิกฤติ” ด้วย

ทั้งนี้ บทความวิจัยโดย ศ.ดร.อำนาจ ซึ่งเผยแพร่ไว้ในแหล่งข้อมูลดังกล่าว ได้สะท้อนไว้ว่า… ปัญหาด้านมลพิษกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างเลี่ยงไม่ได้ และในประเทศไทยนั้น ปัญหาหนึ่งที่เด่นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้น มลพิษทางด้านอากาศ” ซึ่งสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการเกิดมลพิษทางอากาศก็คือ มาจาก ยานพาหนะ” นั่นเอง จึงเป็นคำถามสำคัญที่ว่า…แล้วปัญหามลพิษทางอากาศจากการใช้ “รถยนต์” ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน กฎหมายจะมีส่วนช่วยอะไรได้บ้าง?

และเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทความก็ได้ระบุไว้โดยสังเขปมีว่า… การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศผ่านทางการใช้กฎหมายนั้น กับกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะทางบกของประเทศไทยนั้น ปัจจุบันนี้ได้มีการนำมาตรฐานจากกฎหมายของสหภาพยุโรปในอดีตมาปรับใช้ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กฎหมายของสหภาพยุโรปได้พัฒนาและประกาศใช้มาตรฐานใหม่ ก็ทำให้ มาตรฐานของประเทศไทยที่อ้างอิงกฎหมายของสหภาพยุโรปในอดีตนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ามาตรฐานใหม่ของสหภาพยุโรปในปัจจุบัน โดยกฎหมายดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ…

ด้านการผลิต, เชื้อเพลิง, การใช้งาน

สำหรับ ด้านการผลิต กฎหมายด้านการผลิตเป็นกฎหมายที่ควบคุมการออกแบบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปล่อยอากาศเสียเป็นไปตามมาตรฐาน โดยกำหนดมวลอ้างอิงของรถต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับปริมาณการปล่อยอากาศเสีย เพื่อให้ผู้ผลิตต้องผลิตยานพาหนะที่ไม่ปล่อยอากาศเสียเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ขณะที่กฎหมายไทยก็ได้มีการกำหนดมาตรฐานนี้ไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมหลายฉบับ กฎหมายไทยเองก็ได้ควบคุมและกำหนดปริมาณมลสาร…

ในมาตรฐานที่คล้ายคลึงสหภาพยุโรป

แต่ทว่า…เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหภาพยุโรปแล้ว พบว่า… ปริมาณของการปล่อยสารมลพิษต่าง ๆ จากเครื่องยนต์ของสหภาพยุโรปมีความเข้มงวดกว่ามาตรฐานของไทย รวมทั้งในบางประเภทยังมีจำนวนมลสารที่ถูกควบคุมมากกว่าไทยด้วย เช่น กรณีรถยนต์ที่มีมวลเต็มอัตราบรรทุกเกิน 3,500 กิโลกรัม กฎหมายของไทยมีการควบคุมสารมลพิษเพียงแค่ 4 ชนิดเท่านั้น คือ คาร์บอนมอนอกไซด์ นอน-มีเทนไฮโดรคาร์บอน มีเทน และออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งกรณีนี้จะแตกต่างจากของสหภาพยุโรปที่จะมีการควบคุมสารมลพิษแบบนี้เอาไว้มากถึง 7 ชนิด …นี่เป็น “ข้อแตกต่าง” ไทย-ยุโรป

ขณะที่ ด้านเชื้อเพลิง ในส่วนนี้กฎหมายได้มุ่งควบคุมไปที่คุณภาพของเชื้อเพลิงที่ใช้กับยานพาหนะ เพราะไอเสียจากเครื่องยนต์ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเชื้อเพลิงด้วย โดยในกฎหมายไทยได้มีการควบคุมเรื่องดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 โดยได้มีการกำหนดคุณภาพน้ำมันต่าง ๆ เอาไว้ ซึ่งมาตรฐานน้ำมันเบนซินและดีเซลที่ใช้กับยานพาหนะเป็นหลักนั้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานจากกฎหมายสหภาพยุโรปแล้ว มาตรฐานต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน เว้นแต่ในส่วนของกำมะถัน โดย สหภาพยุโรปจะกำหนดปริมาณที่เข้มงวดกว่าของไทย …กรณีนี้ก็เป็นอีกจุดที่แตกต่าง

ส่วน ด้านการใช้งาน กฎหมายในส่วนนี้จะมุ่งควบคุมที่การปล่อยอากาศเสียจากยานพาหนะเมื่อมีการนำไปใช้จริง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การควบคุมด้วยการจดทะเบียน การตรวจสอบยานพาหนะตามกำหนดเวลา และการสุ่มตรวจข้างถนน ซึ่งไทยก็ได้ใช้มาตรฐานเดียวกันกับของสหภาพยุโรป เพียงแต่ของไทยนั้นจะแทรกอยู่ในกฎหมายหลายฉบับมากกว่า …นี่ก็เป็น “ข้อแตกต่าง” ของ “กฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ” ที่แม้ประเทศไทยจะใช้มาตรฐานที่อ้างอิงจากสหภาพยุโรป…แต่ในรายละเอียดนั้นจะ “มีความแตกต่างกัน-มีความเข้มงวดไม่เท่ากัน”

ทั้งนี้ ศ.ดร.อำนาจ วงศ์บัณฑิต ยังได้จัดทำ “ข้อเสนอแนะ” เพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมายไว้ 3 ข้อ คือ… ควรออกกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดอัตราการปล่อยมลพิษแต่ละประเภทให้เข้มงวดเช่นเดียวกับมาตรฐานสหภาพยุโรป, ควรออกหรือแก้ไขกฎหมายลำดับรองเพิ่มเติมภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะเทียบเท่ามาตรฐานของสหภาพยุโรป และก็ ควรปรับปรุงมาตรฐานการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากสับสน …นี่เป็นแนวทางที่เสนอไว้ในบทความวิจัย

กับการ แก้มลพิษทางอากาศ-ฝุ่นพิษ”

ด้วยการ ใช้กฎหมายช่วยอย่างได้ผล”

ที่ จำเป็นต้องแก้ที่กฎหมายก่อน??”.