ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หากเซ็กซ์ทำให้ปวดศีรษะหรือไม่ ?

การศึกษาทบทวนในปี พ.ศ. 2565 อธิบายว่าอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์มักไม่เกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยซึ่งมีอาการปวดศีรษะจากเพศสัมพันธ์ควบคู่ไปกับอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจมีปัญหาพื้นฐานที่ต้องได้รับการแก้ไข

อาการปวดศีรษะจากเพศสัมพันธ์ไม่ใช่ภาวะร้ายแรงในตัวของมันเอง อย่างไรก็ตาม ควรเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแยกแยะอาการปวดศีรษะที่เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์จากสาเหตุที่ร้ายแรงกว่าของอาการปวดศีรษะ เงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่างที่ร้ายแรงที่อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ได้แก่ ภาวะผนังหลอดเลือดสมองโป่งพองซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังกิจกรรมทางเพศ ร้อยละ 3.8-14.5 ได้ของกรณี

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองโป่งพองเกิดจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดในสมองบางตำแหน่งมีลักษณะบางกว่าบริเวณอื่น เมื่อต้องรับมือกับความดันในหลอดเลือดอยู่เรื่อย ๆ อาจส่ง
ผลให้บริเวณที่บางนั้นโป่งพองเป็นกระเปาะและอาจแตกออก
ส่งผลร้ายแรงต่อสมองในเวลาใดเวลาหนึ่ง ตกเลือด, ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด (Aortic Dissection) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดแดงใหญ่ได้รับความเสียหาย

กลุ่มอาการภาวะหลอดเลือดแดงหดตัวชั่วคราว (Reversible cerebral vasoconstriction syndrome: RCVS) เป็นโรคที่มี
ความหมายตรงตามชื่อ คือสามารถหายได้เองภายใน 3 เดือน พบในเพศหญิงอายุ 20-50 ปี พบไม่บ่อยและยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

สรุป ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบ่งชี้ว่าการมีเพศสัมพันธ์สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ ในความเป็นจริง หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่าการมีเซ็กซ์อาจทำให้ปวดศีรษะในบางคน และอาจทำให้อาการปวดศีรษะแย่ลงในคนบางกลุ่มอื่น ๆ ได้ จากการวิจัยที่มีอยู่ ดูเหมือนว่าเซ็กซ์จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะในผู้ที่เป็นไมเกรนได้มากที่สุด อาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในการบรรเทาอาการปวดศีรษะในผู้ที่มีอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ใครก็ตามที่มีอาการปวดศีรษะเป็นประจำหรือปวดศีรษะแย่ลงในระหว่างหรือหลังการมีเพศสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางร่างกายอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตามผู้ที่ปวดศีรษะกะทันหันและรุนแรง
ร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

—————————
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล