ดังนั้น “ทิศทางเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย” จะดีขึ้นได้หรือไม่??-อย่างไร?? จึง “ยังต้องลุ้น??”… ทั้งนี้ทั้งนั้น กับการ “เตรียมตัว-เตรียมพร้อม” นั้น ในส่วนของประเทศไทยก็ “ยังคงต้องทำ” กันไป และไทยเราตอนนี้ก็ยังมี “สถานการณ์ที่น่ากังวล” กรณี “ไทยขาดแคลนแรงงานช่างฝีมือเฉพาะทาง” ที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีกระแสว่า…ไทยจำเป็นต้องเร่งเพิ่มจำนวนแรงงานกลุ่มนี้ทั้งระบบ…

ไทยจะต้องสนองความต้องการตลาด

ในยุคคลายล็อกมาตรการคุมเข้มโควิด

เพื่อไม่ให้ไทย เสียโอกาสการเติบโต!!”

ทั้งนี้ เกี่ยวกับกรณี “ไทยขาดแคลนช่างฝีมือเฉพาะทาง” นั้น นี่ก็ถือเป็น “ปัญหาสำคัญ” ไม่น้อย เพราะแรงงานกลุ่มนี้ก็นับเป็นกำลังสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย โดยกรณีนี้ทาง รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง ได้วิเคราะห์และสะท้อนผ่าน “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ไว้ โดยบอกว่า… หากพูดถึงเรื่องการขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้…นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่ง “ช่างฝีมือเฉพาะทาง-ช่างเทคนิคฝีมือชั้นสูง” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าขาดแรงงานกลุ่มนี้ย่อมกระทบอัตราการเติบโตของประเทศไทย…

“ต้องเร่งผลิต” แรงงานอาชีพเฉพาะทาง

จะ ต้องพัฒนาให้ทันกับความต้องการ”

กับปัญหาขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทางนี้ กรณีนี้นักวิชาการท่านเดิมยังบอกว่า… ในไทยเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว ซึ่งภาคส่วนต่าง ๆ ก็ทราบดีเกี่ยวกับปัญหานี้ ส่วน “สาเหตุ” ที่ว่าทำไมถึงขาดแคลนนั้น?? ประเด็นนี้นักวิชาการท่านนี้ก็ขยายภาพว่า…หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับปัญหาที่เรียกกันว่า “มิสแมตช์ (Missmatch)” ที่ในความหมายเกี่ยวกับปัญหานี้ก็คือ… ลักษณะการศึกษาที่เรียนจบมาไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมามีผู้จบการศึกษาในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก แต่สาขาที่จบมาเป็นทักษะที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด หรือไม่ตรงกับที่ตลาดขาดแคลนอยู่…

นี่เป็น “ปัจจัย” ทำให้เกิด มิสแมตช์”

จน ตลาดขาดแรงงานกลุ่มที่ต้องการ”

ทาง รศ.ดร.สมชาย ขยายความเพิ่มเติมไว้กับ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” อีกว่า…ในแง่ “จำนวน” ก็ปัญหาหนึ่ง ขณะที่ในแง่ “คุณภาพทักษะ” ก็อีกเรื่อง โดยภาพที่ปรากฏขึ้นขณะนี้จะเห็นว่า…มีคนเรียนจบปริญญาตรีเยอะมาก…แต่กลับยังมีอัตราการว่างงานสูง ซึ่งเป็นเพราะทักษะที่มีไม่ตรงกับที่ตลาดต้องการ อีกทั้งการที่ “ตลาดเปลี่ยนไป” ทำให้ “ความต้องการแรงงานที่มีทักษะใหม่ ๆ เปลี่ยนไปตลอด” โดยในปัจจุบันได้เข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีอย่างแท้จริงแล้ว แต่ก็ปรากฏว่า ระบบการเรียนการสอนในไทยยังปรับตัวตามได้ไม่ทัน อีกทั้งเรื่องการ “Reskill” เพื่อ “อัพเดททักษะ” ก็ยังทำได้น้อยอยู่…

ยังไม่เร็วพอจะรองรับการเปลี่ยนแปลง

ก็จึง ยิ่งเสี่ยงมีปัญหาว่างงานเพิ่มขึ้น!!”

นอกจากนั้น กับ “ทัศนคติเชิงลบ” เกี่ยวกับ “สายอาชีพ” ที่คนรุ่นใหม่มี นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจเรียนทางสายอาชีพมากนัก โดยยุคหลัง ๆ มานี้ พบว่า…กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้อยากเรียนสายช่าง แต่ต้องการที่จะเรียนในระดับปริญญามากกว่า เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่ ๆ มีแนวคิด “ไม่อยากเป็นลูกจ้างใคร” ทำให้ส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบก็อยากจะก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการเอง โดยสะท้อนให้เห็นได้จากการเติบโตขยายตัวของบางธุรกิจ… ธุรกิจสตาร์ทอัพ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร การค้าขายออนไลน์ ซึ่งเรื่องของ “ทัศนคติที่เปลี่ยนไป” ในด้านนี้ ก็ส่งผลกระทบไม่น้อย…

ทำให้ ไทยขาดแรงงานทักษะฝีมือ”

ขณะที่อีกปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดปัญหานี้เช่นกัน นั่นก็คือกรณี “สมองไหล” จากการที่ “แรงงานที่มีทักษะฝีมือนิยมไปทำงานต่างประเทศ” มากกว่าที่จะเลือกทำอาชีพในเมืองไทย เนื่องเพราะ “ต้องการรายได้ที่สูงขึ้น” จนทำให้ประเทศไทยต้องขาดแคลนแรงงานคุณภาพเหล่านี้ …ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถ้าไม่เร่งแก้ไขจะเกิดปัญหาแน่นอน จะทำให้ “ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง” จน “ไทยสู้ประเทศอื่น ๆ ไม่ได้” และย่อมกระทบถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยตามไปด้วย

“การขาดแคลนช่างเทคนิคหรือแรงงานที่มีทักษะอาชีพเฉพาะทาง จะส่งผลกระทบมากมาย เรื่องที่เห็นได้ชัดก็คือความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา แม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับประเทศแถบอาเซียน มีแค่บรูไนประเทศเดียวที่ไทยชนะ การขยายตัวของไทยอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าประเทศอื่น ๆ จนเกือบจะต่ำสุดในอาเซียน!!” …นี่เป็น “สถานการณ์ปัญหา” ที่ รศ.ดร.สมชาย ฉายไว้

ไทยกำลังขาดแคลน แรงงานช่างฝีมือ”

ตำแหน่งงานว่างมี” แต่ ตกงานกันอื้อ”

“มิสแมตช์” นี่ “น่าคิดไม่แพ้โควิดฟื้นดุ”.