ทั้งนี้ ปัจจุบัน “คนไทยกลุ่มนี้ก็เครียดสะสมมากขึ้น” โดยเฉพาะ อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ยุคนี้ “แบกรับความกดดันมากมาย” จากสภาพแวดล้อม การทำงาน รวมถึงเครียดจากความคาดหวัง ซึ่ง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูล ปัญหาที่สังคมไทยอาจมองไม่เห็น?? ปัญหานี้…

กรณีนี้ สำคัญต่อระบบการศึกษาไทย”

ทางผู้เกี่ยวข้อง ต้องตีโจทย์ปลดล็อก”

เพื่อ มิให้สถานการณ์ย่ำแย่บานปลาย”

เกี่ยวกับกรณี “ปัญหาสุขภาพจิตอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้น กรณีนี้ได้ถูกฉายภาพไว้ผ่านบทความเชิงวิเคราะห์ชื่อ “อาจารย์มหาวิทยาลัยกับปัญหาสุขภาพจิตที่มองไม่เห็น” โดย รศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งบทความชิ้นนี้ได้มีการเผยแพร่ไว้ทาง www.theprachakorn.com เพื่อสะท้อนให้สังคมไทยตระหนัก และหันมาร่วมกันแก้ไข เพราะ ปัญหานี้อาจจะกระทบกับหลาย ๆ มิติ โดยนักวิชาการท่านนี้ได้ฉายภาพไว้ว่า… มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรหนึ่งที่พบบุคลากรมีปัญหาสุขภาพจิตอยู่บ่อยครั้ง แต่สังคมกลับมองไม่เห็น…

ไม่ได้มีการตระหนักถึง ผลกระทบ!!”

ทั้งนี้ รศ.ดร.สุชาดา สะท้อนไว้ว่า… “อาจารย์มหาวิทยาลัย” เป็น “กลุ่มเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น” เนื่องจากต้องแบกรับความเครียด ความกดดัน ความคาดหวังอยู่เสมอ ซึ่งในขณะที่ “อาจารย์มหาวิทยาลัย” มัก ถูกมองว่าเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพจิต
ของนักศึกษา แต่ด้วยเงื่อนไขการทำงาน ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัย กลับต้องเจ็บป่วยทางจิตเสียเอง!! ซึ่งขณะนี้มีอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนเท่าใดที่มีปัญหาสุขภาพจิต??… แม้ไม่มีงานวิจัยยืนยัน…แต่ก็เชื่อได้ว่า…

“ไทยกำลังเผชิญปัญหาที่มองไม่เห็นนี้”

รศ.ดร.สุชาดา ยังสะท้อนเรื่องนี้กรณีนี้เอาไว้อีกว่า… อาจารย์มหาวิทยาลัย” เป็น “อาชีพที่มีความกดดันสูงมากอีกอาชีพหนึ่ง” เพราะชีวิตอาจารย์มหาวิทยาลัย ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา โดยเริ่มต้นจากการที่ต้องมีประวัติผลการเรียนดีถึงดีเด่น ต้องมีความอดทนเป็นเลิศ อีกทั้งยัง ต้องทุ่มเทชีวิตแต่ละวันหมดไปกับการอ่าน-การค้นคว้า เพื่อที่จะเป็นต้นแบบให้นักศึกษา นอกจากนั้นยัง ต้องทำผลงานเพื่อขอตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น อีกทั้ง ต้องแบกความคาดหวัง ของสังคม องค์กร ลูกศิษย์ ครอบครัว และตัวเองตลอดเวลา เพราะถูกหล่อหลอมให้คิดว่า “ต้องสมบูรณ์แบบ” ซึ่งเหล่านี้…

อาจเป็น สาเหตุที่ทำให้มีความเสี่ยง”

ในการ เกิดปัญหาสุขภาพจิต” ขึ้นได้

นอกจากนี้ ทางนักวิชาการท่านเดิมยังได้มีการบอกเล่าจาก “ประสบการณ์ตรง” จากที่ได้สัมผัสมาจากการที่อยู่ใน “อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย” โดยระบุไว้ว่า… จากการได้สัมผัสกับคนรู้จัก คนใกล้ตัว มักได้ยินข่าวเกี่ยวกับการที่มีอาจารย์ป่วยด้วยปัญหาสุขภาพจิตอยู่เรื่อย ๆ โดย บางคนป่วยเป็นโรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โดยไม่รู้ตัว!! เนื่องจากต้องเผชิญความกดดันตลอดเวลา จน “มีปัญหาสุขภาพจิต” ทำให้ “ต้องลาพักผ่อน” หรือถึงขั้น “ลาออกจากงาน” ก็มี!!

ขณะที่ “ผลกระทบชีวิต” จาก “คำบอกเล่า” ของอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เคยเผชิญปัญหานี้ จนต้องลาออกจากงานหลังอาการกำเริบเพราะไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง… อาการที่เกิดขึ้นระหว่าง “ป่วยด้วยโรคจิตเภท” อยู่นั้น ได้แก่ อาการ หลงผิดหวาดระแวงจะมีคนมาทำร้าย รวมถึงบางครั้ง มองเห็นภาพหลอน และเริ่มมีพฤติกรรม แยกตัวออกจากสังคม จนเมื่ออาการกำเริบหนักก็จะ ทำอะไรโดยไม่มีสติสัมปชัญญะ ได้ ซึ่งมีคำบอกเล่าจากอาจารย์ที่เคย “ป่วยด้วยปัญหาสุขภาพจิต” ว่า… ช่วงที่อาการหนัก ๆ เคยส่งอีเมลลาออกกับผู้บริหาร ทั้ง ๆ ที่ไม่มีปัญหาการทำงานแต่อย่างใดเลย

ทั้งนี้ ทาง รศ.ดร.สุชาดา ได้สะท้อนไว้ด้วยว่า… เรื่องเล่าของอาจารย์ท่านนี้อาจจะเป็นข้อมูลด้านเดียว แต่ก็เพียงพอที่จะเป็น อุทาหรณ์เตือนใจให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง ว่า… จะต้องร่วมมือกันใส่ใจดูแล เนื่องจากต้องยอมรับว่า… ในเวลานี้กลุ่มที่ถูกยืนยันว่าป่วยตามคำวินิจฉัยของแพทย์นั้น เป็นกลุ่มที่ทุกคนมองเห็นบทบาทได้ชัดเจน แต่ไม่มีใครทราบได้ว่า…ยังมีอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ “อาจกำลังจะป่วย” และที่ “มีปัญหาสุขภาพจิตแล้ว” อยู่จำนวนเท่าใด?? ซึ่งยิ่งกับกลุ่มหลังถือเป็น “ปัญหาที่มองไม่เห็น” ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าไปช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม มากขึ้น

และนักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคมยัง “เสนอแนะ” การช่วยบรรเทาปัญหานี้ไว้ว่า… สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญคือการสร้างระบบและแนวปฏิบัติที่ดีขึ้น เพื่อดูแลสุขภาพจิตบุคลากรในองค์กร ตั้งแต่การป้องกัน จนถึงการทำให้เข้าถึงการประเมินวินิจฉัย การรักษา การฟื้นฟู เพื่อช่วยให้บุคคลเหล่านั้นกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ …ทั้งนี้ เหล่านี้เป็นภาพสะท้อน “ปัญหาของอาจารย์มหาวิทยาลัย” ที่ขณะนี้ “มีแนวโน้มป่วยด้วยปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น” เรื่อย ๆ…

ปัญหานี้เรา ๆ ท่าน ๆ ก็ ลองคิดกันดู”

“อาจารย์ป่วยจิต” แล้ว ศิษย์จะยังไง??”

“จะแย่แค่ไหน??…จะเกิดอะไรขึ้น??”.