สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ อบต.หนองสนิท เมื่อ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ ศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น” เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการระบบอาหารชุมชนท้องถิ่น โดยมี นายธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส.

นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุน และประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 5 สสส. ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส. พร้อมด้วยคณะกรรมบริหารแผน คณะที่ 3 และคณะที่ 5 ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุน สสส. รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีสุขภาวะ และภาคีเครือข่ายเข้าร่วม

ดร.ประกาศิต กล่าวถึงรูปแบบการทำงาน สสส. สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในทุก ๆ ด้าน อบต. หนองสนิท เป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่มีการจัดการสุขภาวะชุมชนอย่างเป็นระบบ โดย สสส. เข้ามาหนุนเสริมการเรียนรู้วิธีการจัดการระบบอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น 3 เรื่องหลัก คือ 1. กลไกการบริหารจัดการระบบอาหาร ต. หนองสนิท และกลไกการทำงานระดับเครือข่าย 2. การส่งเสริมการเข้าถึงอาหารของคนทุกกลุ่ม 3. ออกแบบและกำหนดเป้าหมายการบูรณาการในการขับเคลื่อนระบบอาหาร โดยชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังออกแบบกำหนดเป้าหมายขับเคลื่อนระบบอาหารชุมชนท้องถิ่น อาทิ มาตรฐานการทำเกษตรอินทรีย์ ที่ทำมามากกว่า 24 ปี การตรวจหาสารเคมีในเลือด ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน เป็นต้นแบบของพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะที่ดี

“การจัดอาหารของ อบต. หนองสนิท ความสำเร็จคือ สามารถพึ่งพาตนเองได้ในชุมชน แม้ในภาวะวิกฤติอย่างโควิด-19 ขยายผลสู่การจัดการอาหารสำหรับกลุ่มเปราะบาง และสามารถนำกลไกการจัดไปสู่องค์ความรู้ระดับจังหวัดได้ สอดคล้องกับการทำงานของ สสส. ในการบูรณาการด้านอาหาร กับงานพื้นที่ชุมชนจะสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพของบุคคล ชุมชน และองค์กร สู่การพัฒนาขยายผลอาหารปลอดภัย ต่อยอดสู่การขับเคลื่อนเป็นนโยบายสาธารณะในอนาคตอย่างยั่งยืน” ดร.ประกาศิต กล่าว

ดร.นพ.ไพโรจน์ เส กล่าวว่า การบูรณาการจัดการอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น เพื่อสุขภาวะสร้างห่วงโซ่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อสุขภาวะ มีวัตถุประสงค์ 1. ขับเคลื่อนและบูรณาการแนวคิด “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ 2. สานเสริมพลังภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ต่อยอดและขยายผลเชิงนโยบาย 3. ยกระดับต้นแบบงานอาหารเพื่อสุขภาวะในระดับพื้นที่ โดยมีจุดเน้นส่งเสริมโภชนาการเชิงรุก ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ สร้างความเข้มแข็งของประชาชน ให้เกิดความรอบรู้ และเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร พัฒนาและใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสร้างสมรรถนะผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ผลิตอาหารที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน พร้อมทั้ง สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมบูรณาการภาคีเครือข่ายยกระดับทางด้านนโยบาย เพื่อสุขภาวะอย่างสมดุล ภายใต้ระบบอาหารที่ยั่งยืน

“อบต.หนองสนิท มีความเข้มแข็งด้านอาหาร ซึ่ง สสส. โดยแผนอาหาร เพื่อสุขภาวะมีองค์ความรู้ด้านอาหารที่สามารถสร้างระบบกลไกความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่การผลิต สนับสนุนต้นแบบแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำกัดการใช้สารเคมี การกระจาย และสร้างตลาดอาหาร ส่งเสริมช่องทาง สนับสนุนเศรษฐกิจอาหาร เชื่อมโยงผลผลิตอินทรีย์สู่ผู้บริโภค พัฒนาทักษะการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ สื่อสารความรอบรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ ซึ่งจะหนุนเสริมความเข้มแข็งด้านอาหารในพื้นที่อย่างเป็นระบบมากขึ้นในอนาคต” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว