@@@@ บางส่วนของรัฐวิกตอเรียประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 5 ทศวรรษ โดยมีคำสั่งอพยพด่วนในพื้นที่เสี่ยง และบ้านเรือนทางตะวันตกของเมลเบิร์นถูกน้ำท่วม มีคำเตือนฉุกเฉินสำหรับโรเชสเตอร์ โดยแนะนำให้ผู้คนอพยพไปยังศูนย์บรรเทาทุกข์ทันที มีการเตือนน้ำท่วมครั้งใหญ่สำหรับแม่น้ำ Campaspe จาก Barnadown ไปยัง Rochester และจาก Lake Eppalock ไปยัง Barnadown โดยมีการแนะนำให้ย้ายไปที่ที่สูง นอกจากนี้ยังมีคำเตือนฉุกเฉินให้อพยพออกจาก Murchison โดยคาดว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ตามแม่น้ำ Goulburn จาก Seymour ถึง Shepparton ประชาชนกำลังถูกกระตุ้นให้ย้ายขึ้นที่สูงจากที่ดินริมฝั่งแม่น้ำ Maribyrnong ในมาริเบอร์นอง พร้อมคำเตือน “ให้เฝ้าระวังและปฏิบัติตาม” เตรียมอพยพ สำหรับสถานที่ต่างๆ ภายในเขตเมืองมูรูพนา โดยคาดว่าจะเกิดน้ำท่วมบริเวณดังกล่าวตั้งแต่เวลา 15.00 น. ในวันเสาร์วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2565  จากข้อมูลของ State Emergency Service SES พบว่ามีที่พักประมาณ 100 แห่งในพื้นที่ลุ่มรอบๆ เมือง Maribyrnong, Ascot Vale และ Keilor ถูกน้ำท่วม

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2565 ผู้อยู่อาศัยในบางส่วนของ Wangaratta และ Charlton ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐวิกตอเรีย ได้รับคำสั่งให้อพยพหนีภัยจากน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินได้เข้าเคาะประตูทุกบ้าน ภายในระบบ Parfitt Road Levee ซึ่งกำลังถูกคุกคามจากน้ำท่วมใหญ่จากแม่น้ำ Ovens ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง 12.8 เมตรในวันเสาร์นี้และมีแนวโน้มที่จะอยู่เหนือระดับน้ำท่วมใหญ่เป็นเวลาหลายวัน หน่วยบริการฉุกเฉินของรัฐกล่าวว่าผู้อยู่อาศัยที่ได้รับการขอให้อพยพสามารถหาที่พักพิงที่ Gotafe Cafe ใน Docker Street, Wangaratta นอกจากนี้ ยังมีการออกคำสั่งอพยพสำหรับประชาชนในชาร์ลตัน โดยคาดว่าน้ำท่วมครั้งใหญ่จะเข้าท่วมเมืองภายในวันนี้ และอาจกินเวลานานถึง 5 วัน ศูนย์บรรเทาทุกข์ได้รับการจัดตั้งขึ้นที่ Wycheproof P-12 College ที่ McKenzie Crescent, Wycheproof

ผู้อยู่อาศัยใน Orrvale ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ Shepparton ได้รับคำสั่งให้อพยพทันที โดยที่แม่น้ำ Broken River กำลังจะถึงระดับน้ำท่วมใหญ่ในวันนี้ Andrew Crisp กรรมาธิการการจัดการเหตุฉุกเฉินของรัฐวิกตอเรีย กล่าวว่า Wangaratta, Rochester, Charlton และ Shepparton จะเป็นจุดที่ต้องเฝ้าดูของทีมงานในวันนี้ และเขาสนับสนุนให้ผู้คนให้ความสนใจกับคำเตือนฉุกเฉิน “เงื่อนไขต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นคุณต้องคอยติดตามข้อมูลในท้องถิ่น เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดี” เขากล่าว

ระดับน้ำท่วมเหนือพื้นกระดานในบ้านได้รับรายงานว่ามี 466 แห่งทั่วรัฐ โดยปัจจุบันมีบ้านเรือนประมาณ 500 แห่งถูกน้ำท่วมถูกตัดขาดออกจากกัน และปิดถนน 344 แห่ง ศูนย์บรรเทาทุกข์ได้รับการจัดตั้งขึ้นใน 14 แห่ง พร้อมด้วยจุดรวบรวมกระสอบทราย 55 แห่ง “ผมคุยกับนายกรัฐมนตรีเมื่อเช้านี้ และเขาย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลกลางจะสนับสนุนความพยายามในการแก้ปัญหาของเราในตอนนี้ และแน่นอนรวมทั้งการทำความสะอาดและฟื้นฟูด้วย” มุขมนตรีรัฐวิกตอเรีย นายแดเนียล แอนดรูว์ กล่าว

จนถึงขณะนี้ ทีมงาน SES ได้ดำเนินการกู้ภัยทางน้ำแล้ว 355 ครั้งทั่วทั้งรัฐ รวมถึง 160 แห่งในโรเชสเตอร์ ซึ่งแม่น้ำ Campaspe อยู่ในระดับน้ำท่วมใหญ่ จากการช่วยเหลือเหล่านั้น โดยการช่วยนำคนออกมาจากบ้าน 200 คน จากการขับรถผ่านน้ำท่วม 150 คน และ จากเรือเล็ก 10 คน ผู้บัญชาการ Crisp เตือนผู้อยู่อาศัยที่ได้อพยพออกจากบ้าน ไม่ควรกลับบ้านของพวกเขาจนกว่าเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินจะเคลียร์ “คุณมีสถานการณ์น้ำท่วมที่น่าเป็นห่วง ถึงคุณจะมีท้องฟ้าสีฟ้าและแสงแดด แต่คุณมีความเสี่ยงสูงกับเกี่ยวกับน้ำที่เคลื่อนไปตามระบบของแม่น้ำเหล่านี้” เขากล่าว “คนกลัวไฟ พวกเขาควรจะกลัวน้ำเหมือนกัน น้ำฆ่าและสิ่งที่มันทำคือทำให้บริการฉุกเฉินของเราตกอยู่ในความเสี่ยง และมันทำให้พวกเราเสียสมาธิจากงานที่พวกเราควรทำจริงๆ” เดวิด เคลย์ตัน ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งรัฐวิกตอเรีย กล่าวว่า จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในพื้นที่อพยพ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการขโมยทรัพย์สิน “เราคาดว่าในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เราจะได้เห็นการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดที่เราเคยเห็นมา” เขากล่าว “ดังนั้น ได้โปรดฟังคำเตือนเหล่านั้น และอพยพเมื่อถูกขอให้ทำ”

บางส่วนของรัฐวิกตอเรียประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 5 ทศวรรษ โดยมีคำสั่งอพยพด่วนในพื้นที่เสี่ยง มุขมนตรีรัฐวิกตอเรีย นายแดเนียล แอนดรูว์ ยืนยัน รัฐบาลกลางพร้อมสนับสนุนความพยายามในการแก้ปัญหา รวมทั้งการทำความสะอาดและฟื้นฟูด้วย

@@@@ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565  เวลา 10.00 น. นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เป็นประธานในพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565 ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตฯ ได้วางพวงมาลา กล่าวน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาประเทศตลอดจนพระปรีชาสามารถและพระเกียรติคุณซึ่งได้รับการสรรเสริญและยอมรับอย่างกว้างขวางในเวทีระหว่างประเทศ และยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที โดยมีหัวหน้าสำนักงานและข้าราชการทีมประเทศไทย ณ กรุงแคนเบอร์ราพร้อมคู่สมรส รวมทั้งประธานและสมาชิกสมาคม Australia-Thailand Association (ATA) แคนเบอร์รา และชุมชนคนไทยเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมพิธียังได้ร่วมกันได้ทำบุญถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565 ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 

@@@@ สมัครได้แล้ว งบสนับสนุนการจัดงานสำหรับชุมชน …โครงการ Multicultural NSW Stronger Together Grants เป็นโครงการที่สนับสนุนงบประมาณแก่ชุมชนต่าง ๆ เพื่อจัดเทศกาลและกิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองของชุมชนหลากเชื้อชาติทั่วรัฐ NSW โดยสนับสนุนเงินระหว่าง 5,000 ถึง 15,000 AUD สำหรับใช้จัดเทศกาลและกิจกรรม ซึ่งมีแผนที่จะจัดระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 มิถุนายน 2566 ผู้สนใจสามารถสมัครได้ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00 น. สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://multicultural.nsw.gov.au/stronger-together-grants/

@@@@ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ จัดพิธีและกิจกรรมเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ วัดพุทธรังษี แอนนันเดล โดยมีพระเทพสีลาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณสมัย) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์เป็นประธานในพิธี โดยมีหัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทยในนครซิดนีย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ พร้อมคู่สมรส และชุมชนไทยเข้าร่วม กิจกรรมในพิธีประกอบด้วย การวางพวงมาลา การกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที พระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์และสวดมนต์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ข้าราชการและประชาชนถวายผ้าไตร จากนั้นผู้ร่วมพิธีได้ตักบาตรเทโวและถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ร่วมกัน อนึ่ง สถานกงสุลใหญ่ฯ ยังได้จัดกิจกรรมไว้อาลัยผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ จ.หนองบัวลำภู โดยมีการวางดอกไม้และจุดเทียนเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต และพระสงฆ์ได้นำผู้เข้าร่วมพิธีนั่งสงบนิ่งไว้อาลัย และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ จัดพิธีและกิจกรรมเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ วัดพุทธรังษี แอนนันเดล เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565

@@@@ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2565 กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูดนตรีไทยของชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์แห่งประเทศออสเตรเลีย ตามคำเชิญของผู้ก่อตั้งและคณะกรรมการบริหารชมรมฯ โดยได้เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและเศียรครูดุริยเทพ และเจิมหน้าผากให้แก่นักเรียนเพื่อความเป็นสิริมงคล ชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์แห่งประเทศออสเตรเลียเปิดสอนทุกวันอาทิตย์แก่เยาวชนผู้สนใจ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมไทยในด้านดนตรีและนาฏศิลป์ ให้แก่ชุมชนไทยในประเทศออสเตรเลีย

มาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์แห่งประเทศออสเตรเลีย เกิดจากกลุ่มคนไทยในประเทศออสเตรเลียที่มีความสามารถและรักทางด้านวัฒนธรรมดนตรีและนาฏศืลป์ไทย โดยมี ครูโอ๊ต ชาญพัฒน์ จันทมูล เป็นแกนนำ ในการรวมกลุ่มคนไทยในซิดนีย์มาร่วมกันเล่นดนตรีไทย ในปี 2545

ชมรมได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลีย โดยมีอาจารย์ชาญพัฒน์ จันทมูล เป็นผู้ก่อตั้งชมรม และรักษาการประธานชมรม และมีกรรมการบริหารชมรมฯ ดูแลในด้านต่างๆ ซึ่งมีวาระคราวละ4 ปี และได้นำสมาชิกในรุ่นต่างๆ แสดงความสามารถทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์เผยแพร่และรับใช้ชุมชนไทยและออสเตรเลียในโอกาสและกิจกรรมต่างๆ จนถึงปัจจุบัน และผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารชมรมฯ มีมติร่วมกันให้มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตวัฒนธรรมซิดนีย์ เพื่อทำการสอนวิชาดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทยแก่เยาวชนและผู้สนใจในปี 2559 เป็นอีกส่วนงานหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของชมรม ในการเผยแพร่วัฒนธรรมทางด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทยในประเทศออสเตรเลียจนถึงปัจจุบัน และในปี 2562 ทางชมรมฯได้จัดตั้งสาขาของชมรมฯที่กรุงแคนเบอร์ร่า อีกที่หนึ่งเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่วัฒนธรรมทางด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทยในกรุงแคนเบอร์ร่าและเขตใกล้เคียง ปัจจุบันชมรมฯดำเนินกิจกรรมมาประมาณ 20 ปี  โดยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทั้งทางสถานกงสุลใหญ่นครซิดนีย์และสถานฑูตไทยกรุงแคนเบอร์ร่า และจากสมาชิกที่ร่วมกันทำกิจกรรมในชมรมฯ ในปีนี้ทางชมรมมีโครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/profile.php?id=100054554464282…

กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูดนตรีไทยของชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์แห่งประเทศออสเตรเลีย ตามคำเชิญของผู้ก่อตั้งและคณะกรรมการบริหารชมรมฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2565

@@@@ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565 นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้พบกับสมาคมไทย-ออสเตรเลียนแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ เพื่อสนทนา และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและบทบาทการดำเนินงานของสมาคมฯ โดยทางสมาคมฯ ได้แนะนำประธาน และสมาชิกของสมาคมฯ รวมถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับชุมชนไทยที่ผ่านมา และโครงการที่จะจัดกิจกรรมขึ้นในอนาคต

นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้พบกับสมาคมไทย-ออสเตรเลียนแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ เพื่อสนทนา และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและบทบาทการดำเนินงานของสมาคมฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565

ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]