ในรายงานแนวโน้มทางเศรษฐกิจล่าสุดสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก ( เวิลด์แบงก์ ) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะเติบโต 3.2% ในปี 2565 หลังลดลงจาก 7.2% เมื่อปี 2564 ก่อนที่จะเร่งขึ้นเป็น 4.6% ในปี 2566 อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตสำหรับปีนี้ลดลงอย่างมากถึง 5% ซึ่งธนาคารโลกคาดการณ์ไว้ในรายงานแนวโน้มล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ หลายสิ่งหลายอย่างอาจเทียบได้กับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในจีน ที่ก่อนหน้านี้เป็นผู้นำการฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิด-19 ของภูมิภาค ก่อนที่นโยบาย “โควิดเป็นศูนย์” ที่เข้มงวดจนทำร้ายตัวเองจะเป็นตัวชะลอเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งตามแนวโน้มดังกล่าว ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจชองจีนจะเติบโต 2.8% ในปีนี้ และ 4.5% ในปีหน้า หลังเกิด “การชะลอตัวอย่างรุนแรง” จาก 8.1% ที่มีการบันทึกในปี 2564 อีกทั้งในแนวโน้มล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อเดือน เม.ย. ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของจีนจะเติบโต 5% ในปี 2565

กระนั้น บางทีเรื่องที่ใหญ่ที่สุดคือการที่เวียดนามขยับขึ้นมา เป็นประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการผสมผสานมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพของประเทศ, ความได้เปรียบด้านประชากรศาสตร์ และสิทธิพิเศษในโครงสร้างของเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยธนาคารโลกประมาณการว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโต 7.2% ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์เดือน เม.ย. ที่ 6.3% และจะเติบโตอีก 6.7% ในปี 2566 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ธนาคารโลกได้เพิ่มการคาดเนภาวะเศรษฐกิจในทิศทางบวกอย่างรอบคอบเช่นเดียวกัน

ในการประชาสัมพันธ์ที่ออกล่วงหน้าก่อนรายงานฉบับเต็ม เวิลด์แบงก์ระบุถึงการเติบโตที่ค่อนข้างมั่นคงเช่นนี้ไปที่ปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ 1) การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งเกิดจากการผ่อนคลายข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19, 2) อุปสงค์ทั่วโลกต่อการส่งออกสินค้าประดิษฐกรรมและสินค้าโภคภัณฑ์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ยั่งยืน และ 3) การกระชับนโยบายการเงินและการคลังอย่างจำกัด แต่ธนาคารโลกชี้ว่า “แรงกดดันให้กระชับนโยบายอาจเพิ่มขึ้น” ในอีกหลายเดือนข้างหน้าได้

อย่างไรก็ตาม เวิลด์แบงก์ยังตั้งข้อสังเกตว่า กระแสแรงต้านต่าง ๆ ที่เข้าหาภูมิภาคนี้ ซึ่งเปลี่ยนจากโรคโควิด-19 เป็นการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และสงครามที่ยังดำเนินอยู่ในยูเครนนั้น รายงานระบุว่า “การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าประดิษฐกรรมของภูมิภาค”

ยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารโลกระบุเพิ่มเติมว่า ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อและการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เกิดมาจากธนาคารกลางในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะธนาคารสหรัฐ (เฟด) เพื่อที่จะควบคุมมัน ซึ่งนโยบายการเงินที่เข้มงวดนี้ได้ทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุน และการลดค่าเงินในบางประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก อีกทั้งการพัฒนาเหล่านี้ยังเพิ่มภาระของการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตามกำหนด, ลดพื้นที่ทางการคลัง และส่งผลกระทบต่อหลายประเทศที่เข้าสู่การระบาดใหญ่พร้อมกับภาระหนี้สินสูงด้วย.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES