จากการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 6) มาตรา9 ระบุมาตรการให้งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในสถานที่จำหน่ายอาหาร แต่ไม่มีข้อห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า เป็นไปตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคือ สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากร้านที่จำหน่ายไปกินที่บ้านได้ แต่ห้ามกินที่ร้าน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีการประกาศห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอออล์ในหลายพื้นที่ แต่จากข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเอง กลับเกิดการรุมแย่งซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิดขึ้น จนหลากหลายห้างร้าน ก็มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขาดแคลนอย่างรวดเร็ว 

แต่หากพูดถึงผลเสียของแอลกอฮอล์แล้วล่ะก็ หลายๆ ท่านคงจะทราบว่าเกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ทางด้าน สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เคยให้ข้อมูลเอาไว้ว่า “กลุ่มโรคที่เกิดจากสุรา” สามารถแบ่งได้ดังนี้…

1. กลุ่มโรคทางระบบประสาท (Unipolar major depression), (Epilepsy), (Alcohol-use disorders)

1. โรคเวนิคเค ; ความจำเสื่อมอย่างมาก สติสัมปชัญญะสับสน(Wernike Syndrome)

2. โรคคอร์ซาคอฟท์ ; ความจำเสื่อมไม่รู้จักเวลา สถานที่ บุคคล และพูดไม่จริงอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา (Korsakoff’s Syndrome )

3. โรควิกลจริต (Alcoholic dementia )

4. โรคหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เสียการควบคุมด้านอารมณ์(Neonatal irritability)

5. การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า (Retarded growth and development)

6. โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

7. ความกังวล กลุ้มใจ เป็นทุกข์ , ความตกต่ำ(Anxiety, depression)

8. กระบวนการการรับรู้ ความเข้าใจ บกพร่อง / ขาดสติ(Cognitive deficits)

9. ความกังวลใจกับการดื่ม (Worry about drinking)

10. โรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบหวาดระแวงเพราะพิษสุรา (Alcoholic paranoid)

11. โรคจิตหลอน / ประสาทหลอน (Alcoholic halluciosis)

12. โรคคลั่งเพ้อ เกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง(Toxic psychosi or Delirium tremens)

13. โรคสมองพิการ ,การทำหน้าที่ของสมองผิดปกติส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย (Ataxia due to cerebella dysfunction)

14. โรคความจำเสื่อม

15. กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน ขา อ่อนแรง / ปลายประสาทพิการ (Alcoholic Peripheral myopathy)

16. โรคจิตจากสุรา (Alcoholic psychosis)

17. โรคประสาทเสื่อมจากสุรา(Alcoholpolyneuropathy)

18. โรคซึมเศร้า (Depression)

19. โรคลมชัก (Epilepsy)

20. โรคระแวงเพราะสุรา (Alcoholic paranoia)

2. กลุ่มโรคมะเร็งอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่นในระบบทางเดินอาหารส่วนบน ทรวงอก ตับ

1. มะเร็งในปากและช่องปาก(Oropharyngeal cancer)

2. มะเร็งหลอดอาหาร (Oesophageal cancer)

3. มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon and rectum cancer)

4. มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)

5. มะเร็งตับ ( Liver cancer)

6. มะเร็งเต้านมในผู้หญิง (Female breast cancer)

7. มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer)

3. กลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆ

1. โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Pancreatitis / Acute )

2. โรคเบาหวาน (เกิดจากตับอ่อนอักเสบ)

3. โรคตับอักเสบ (Fatty liver Hepatitis)

4. โรคตับแข็งจากสุรา (Alcohol liver cirrhosis )

5. โรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน และ แบบเรื้อรัง (Acute and chronic pancreatic)

6. โรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือโรคกระเพาะอักเสบจากสุรา(Alcohol gastritis)

7. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากน้ำย่อย (Peptic ulcers)

8. โรคต่อมหมวกไต (Pituitary)

9. โรคเกาต์(Gout)

10. โรคพิษสุราเรื้อรัง

4. กลุ่มโรคหลอดเลือดและหัวใจ

1. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมจากสุรา (Cardio myopathy)

2. หัวใจทำงานบกพร่อง,โรคหัวใจ (Cardio vascular defects)

3. ความดันโลหิตสูง (Hypertension with hyperlipidemia)

4. โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (กามตายด้าน)( Impotent)

5. สมองส่วนนอกลีบฝ่อ

6. อาการระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกิน (Excess blood alcohol)

7. โรคหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ (Cardiac arrhythmias)

8. โรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure)

5. อุบัติเหตุและการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจ (Unintentional injuries)

1. ปัญหาด้านกฎหมาย / ความสามารถในการขับขี่ลดลง / ความสูญเสียจากการขับรถ Legal problems (Impaired driving)

2. การหกล้มและจมน้ำ

3. การตายจากการฆาตกรรม

4. กลุ่มผลกระทบต่อสุขภาพแบบฉับพลัน ( Accidental injury)

5. การถูกสารพิษ (Poison)

6. การฆ่าตัวตาย (Suicide)

7. ความรุนแรงและการทำร้าย (Interpersonal violence and assaults)

โรคทางตรงและโรคทางอ้อมอื่นๆ

1. โรคแพ้พิษสุรา / อาการเมาเหล้า (Pathologic intoxication หรือ alcohol intoxication)

2. ทำให้ยากจนลง (Poor coordination)

3. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (เกิดจากการขาดสติเพราะดื่มสุรา) เช่นโรคเอดส์ กามโรค

4. โรคผิวหนัง

5. จิตใจเฉื่อยชา (Mild to moderate mental retardation )

6. ขาดความปลอคภัยในครอบครัว การทำงาน และปัญหาสังคม (Family discord work and social problems )

7. ความต้านทานต่อแอลกอฮอล์มากขึ้น( Increased tolerance to alcohol )

8. ปัสสาวะมากผิดปกติ (Hyperuricemia)

9. ความบกพร่องของความตึงกล้ามเนื้อ (Hypotonia)

10. โรคไมโครเซฟาลี เป็นอาการกะโหลกศรีษะและสมองเล็กกว่าปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการพิการ อื่นๆเช่น ไมโครไจเรีย (Microcephaly)

11. เด็กจะอยู่ไม่นิ่งและทำให้มีพฤติกรรมแสดงออกที่โรงเรียนไปในทางที่ไม่เหมาะสม (Chilhoodhyperactivity and impaired school performance)

12. โรคกระดูกสันหลังพรุน

13. โรคปอดบวม

14. โรคติดสุรา (Alcohol -dependence syndrome)

15. โรคใช้สุราเกินขนาด (Alcohol abuse)

16. อาการเอทธานอลเป็นพิษ(Ethanol and Methanol toxicity)

17. โรคเลือดออกในสมอง (Haemorrhagic stroke)

18. โรคความดันโลหิตสูง(Hypertension)

19. กลุ่มโรคความผิดปกติของเด็กในครรภ์ที่มารดาดื่มแอลกอฮอล์(Fetal Alcohol Spectrum Syndrome)

ผลต่อทารกจากกการดื่มสุราของมารดา

1. ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย (Fetal alcohol syndrome)

2. ปากแหว่งเพดานโหว่ (Craniofacial abnormality)

3. ดวงตาและกรามมีขนาดเล็ก

4. สมองเล็กกว่าปกติ

5. หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

6. แขน-ขาเจริญเติบโตผิดปกติ

7. ความสามารถในการดูน้อยกว่าทารกปกติ

8. ร้องกวนโยเยง่าย

9. รูปร่างแคระแกรน

10. นอนหลับยาก

11. ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

ทั้งนี้ สำหรับ “วิธีการเลิกเหล้า” ทางด้านสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า

1. ตั้งใจจริง การเลิกเหล้าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจความสำเร็จย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม

2. ตั้งเป้าว่าจะเลิกเหล้าเพื่อใคร เพราะเหตุใด เช่น เพื่อพ่อแม่…เพราะการดื่มเหล้าของเราทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจเพื่อตัวเอง… จะได้มีสุขภาพดีแถมมีเงินเก็บมากขึ้น เพื่อลูกและครอบครัว…เพราะเหล้า เข้าปากทีไร เป็นต้องทะเลาะกันทุกที ถ้าเลิกเหล้าก็คงทะเลาะกันน้อยลงครอบครัวจะได้มีความสุข มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น…เป็นต้น

3. หยุดทันที! คนที่มีแนวคิดว่าเพียงแค่ดื่มเพื่อความสนุกสนานหรือต้องการเข้าสังคม เมื่อตั้งใจที่จะเลิกเหล้า ก็ต้องพยายามหักห้ามใจ และหยุดดื่มทันที

4. ปรับเปลี่ยนนิสัยการดื่ม สำหรับคนที่เคยดื่มเหล้าเป็นประจำอาจเลิกทันทีได้ยาก ให้ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจช่วยให้ดื่มเหล้าน้อยลงได้ เช่น ดื่ม เหล้าพร้อมกับการรับประทานอาหาร หรือ หมั่นดื่มน้ำเปล่าควบคู่ไปด้วยระหว่างการดื่มเหล้า เปลี่ยนขนาดของแก้ว จากแก้วใหญ่เป็นแก้วเล็กดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าทดแทนไปก่อนใน ระยะแรก

5. ตั้งเป้าว่าจะลดปริมาณการดื่ม เช่น จากที่เคยดื่มวันละ 8แก้ว ก็อาจจะลดปริมาณการดื่มลงไปเรื่อยๆ จนเหลือวันละ 1แก้ว และไม่ดื่มเลยแม้แต่แก้วเดียวในที่สุด

6.หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ความเสี่ยงในที่นี้คือ สถานการณ์หรือสถานที่ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เราดื่มเหล้าได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ช่วงเวลาหลังเลิกงาน วันเงินเดือนออก วาระหรือโอกาสพิเศษต่างๆ การไปเที่ยวผับหรือร้านอาหาร สถานบันเทิง การชักชวนจากกลุ่มเพื่อนที่ดื่มจัด รวมถึงสาเหตุต่างๆ ที่นำไปสู่อาการเหน็ดเหนื่อย ทดท้อ เหงา เศร้า เครียด ฯลฯ

7. เมื่อมีเวลาว่าง ให้ทำกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์แทนการดื่มสังสรรค์ ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพหลังเลิกงาน เช่น ออกกำลังกาย – เล่นกีฬาฉลองวาระพิเศษต่างๆ ด้วยแนวปฏิบัติแบบใหม่ เช่น ไปทำบุญแทนการดื่มเมื่อรู้สึกเหงา เศร้าหรือเครียด ให้หากิจกรรมสร้างสรรค์และจรรโลงจิตใจทำทันที อาทิ อ่านหนังสือ ฟังเพลง ชมภาพยนตร์ ตลอดจน เล่นกีฬา ฯลฯ

8. ฝึกปฏิเสธให้เด็ดขาด เช่น ถ้าเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่ม ให้บอกเค้าไปว่า ” หมอห้ามดื่ม , ไม่ว่างต้องไปทำธุระ ฯลฯ…”

9. หาที่พึ่งทางใจรวมถึงหากำลังใจจากคนรอบข้าง เช่น พ่อแม่ คนรัก ลูก หรือเพื่อนสนิท ที่สามารถปรึกษาหารือให้คำแนะนำดีๆ แก่เราได้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเราต้องการ นอกจากนี้การพูดคุยหรืออ่านประสบการณ์ของคนที่เลิกเหล้าสำเร็จ ก่อนจะพบกับความสวยงามของชีวิตย่อมช่วยสร้างกำลังใจให้กับเราได้มากอย่างที เดียว

10.ปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือ หากไม่สามารถเลิกเหล้าด้วยตัวเองควรปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือดังต่อไปนี้ สายด่วนยาเสพติด สถานธัญรักษ์ กรมการแพทย์ โทร: 1165, สายด่วนเลิกเหล้า ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา โทร: 1413, โรงพยาบาลและสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ…

ขอบคุณข้อมูลจาก @สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์,@สสส.