สภาพอากาศของประเทศไทยนั้น ช่างร้อนไม่ไหวเลยจริงๆ แล้วไม่มีสิ่งไหนที่จะทำให้ชื่นใจได้เท่าของหวานเย็น ๆ ดับกระหาย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ชอบ คือ “น้ำแข็งไส” นั่นเอง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่รู้จักขนมหวานชนิดนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็นิยมเช่นกันจนมีการกำหนดเป็นวันสำคัญ เรียกว่า “วันแห่งน้ำแข็งไส” ส่วนที่มาจะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย

“วันแห่งน้ำแข็งใส” ริเริ่มขึ้นโดยสมาคมน้ำแข็งไสญี่ปุ่น ซึ่งเกิดจากการเล่นสำนวนในภาษาญี่ปุ่น な(7) つ(2)ご(5)おり โดยเป็นการเล่นคำว่าคากิโกริ ซึ่งพ้องกับความหมายว่า น้ำแข็งในหน้าร้อน เดิมแล้วคากิโกริเป็นของหวานสำหรับชนชั้นสูง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 โดยใช้น้ำแข็งเป็นก้อนสี่เหลี่ยมใหญ่ ใช้มีดหั่นเป็นฝอยบาง นำมาใส่ภาชนะที่เป็นเหล็กเพื่อไม่ให้น้ำแข็งละลายเร็วจนเกินไป รับประทานกับน้ำหวานที่ทำจากดอกไม้และน้ำเชื่อม เรียกได้ว่าประณีตและพิถีพิถันในการทำไม่แพ้ขนมไทยเลยทีเดียว ต่อมามีการประดิษฐ์เครื่องบดน้ำแข็ง คากิโกริหรือน้ำแข็งไสจึงนิยมรับประทานในหน้าร้อนนั่นเอง

นอกจากนี้ “วันแห่งน้ำแข็งไส” ยังเกิดขึ้นเพื่อระลึกถึงวันที่ญี่ปุ่นมีอุณหภูมิสูงที่สุดในประวัติการณ์คือ 40.8 องศาเซลเซียส ที่จังหวัดยามากาตะ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ปี 1933 อีกด้วย

ขอบคุณภาพประกอบ : Pixabay