เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีผู้ถูกไฟคลอกเสียชีวิตมากกว่า 40 ราย และไฟยังคงดับไม่ดับสนิท อีกทั้งตู้คอนเทเนอร์บริเวณใกล้เคียงยังมีสารเคมี ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการระเบิด ซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิตเพิ่มเติมอีกด้วย

นายจีเวล ดาส เลขาธิการของสมาคมที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยแห่งบังกลาเทศ ซึ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลในการตรวจสอบอัคคีภัย กล่าวว่า “อุตสาหกรรมเสื้อผ้ามีความปลอดภัยมากกว่า เพราะมันมีระบบตรวจสอบการปฏิบัติตามระหว่างประเทศ และการไม่ปฏิบัติตาม หมายถึงการไม่มีระเบียบ แต่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ไม่มีระบบดังกล่าว และระบบเฝ้าระวังของประเทศก็ไม่มั่งคงพอ”

นอกจากนี้ ระบบพลังงานของธุรกิจเสื้อผ้า ที่รวมถึงเครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซล ตั้งอยู่ห่างจากโรงงาน ในขณะที่ธุรกิจอื่น ๆ สร้างมันไว้บนแหล่งพลังงาน และเนื่องจากเหตุไฟไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากระบบไฟฟ้า มันจึงเหมือนกับการนั่งบนระเบิดอยู่ตลอดเวลา ดาสยังกล่าวเพิ่มเติมว่า โรงงานที่ไม่ใช่โรงงานเสื้อผ้าหลายแห่ง ขาดมาตรการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย เช่น การคัดแยกสารไวไฟ การซ่อมบำรุงทางหนีไฟ และการกำหนดจุดรวมพลที่ชัดเจน

Al Jazeera English

ด้านนายโมเนียร์ ฮอสเซน เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสำนักงานบริการดับเพลิง และการป้องกันพลเรือนแห่งบังกลาเทศ (เอฟเอสซีดี) ผู้ตรวจสอบสารเคมีและมาตรฐานอัคคีภัยที่สถานีตู้สินค้า แสดงความเห็นด้วยต่อการควบคุมดูแลในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่อ่อนแอ และกลัวว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก แม้จะผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งล่าสุดมาแล้วก็ตาม

จากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในโรงงานบังกลาเทศ ระหว่างปี 2555-2556 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตรวมมากกว่า 1,000 ราย สิ่งนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกระดับโลก รัฐบาลต่างประเทศ และหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) ของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ในการปรับปรุงสภาพความปลอดภัยและแรงงาน

ขณะที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) กำลังทำงานร่วมกับหน่วยดับเพลิง โรงงาน และภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อพัฒนาความปลอดภัยทั่วทุกเศรษฐกิจของประเทศ

นายอาลี อาเหม็ด ข่าน อดีตหัวหน้าหน่วยดับเพลิง กล่าวว่า บังกลาเทศในตอนนี้จำเป็นต้องให้ความสนใจโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก หากต้องการที่จะหยุดเหตุไฟไหม้อันตรายไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า แม้โรงงานจำพวกสินค้าที่ทำจากหนัง เภสัชอุตสาหกรรม และพลาสติก จะยกระดับการส่งออก แต่ยังไม่ทำตามกฎความปลอดภัยด้านอัคคีภัยอย่างเต็มที่

“หากไม่มีการบังคับใช้ คนก็จะไม่ปฏิบัติตาม”.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS