แรงกดดันทางเศรษฐกิจระยะยาว รวมกับปัญหาอุปทานที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และปัญหาในระยะยาวที่มาจากการระบาดโรคโควิด-19 ที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานและการขนส่งผลิตภัณฑ์มากมายต้องหยุดชะงัก และส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งสร้างความลำบากใจให้อุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยปัญหาอุปทานเกิดขึ้นเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เมื่อบริษัท แอบบอตต์ แลบอราทอรีส์ เรียกคืนสินค้านมผงสำหรับเด็กแรกเกิดที่ผลิตจากสาขาในเมืองสเตอร์กิส และมิชิแกน หลังจากได้รับรายงานการติดเชื้อแบคทีเรียในเด็กทารกหลายราย

จากข้อมูลของบริษัทติดตามการค้าปลีก ดาต้าเซ็มบลี เผยแพร่เมื่อต้นเดือนนี้ ระบุว่า 43% ของร้านค้าปลีกทั่วประเทศมากถึง 43% ไม่มีนมผงเด็กจำหน่าย เพิ่มขึ้นจาก 31% เมื่อเดือนที่แล้ว และบริษัทจำหน่ายอาหารนมผงเด็กหลายแห่ง เช่น ซีวีเอส, ทาร์เกต และวอลกรีนส์ กำหนดโควตาการซื้อขายปลีกด้วย

ทั้งนี้ ชาวเมืองเทนเนสซีกำลังเผชิญกับอัตราสินค้าขาดตลาดที่สูงที่สุด ขณะที่เมืองแห่งอื่น อย่าง ลาสเวกัส, ฮูสตัน และชาร์ลอตต์ เริ่มไม่มีของบนชั้นวางสินค้ามากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนที่มีรายได้น้อยเป็นกลุ่มคนที่ลำบากเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่มีเงินมากพอ บางครอบครัวจึงไม่สามารถซื้อสินค้ามากักตุนได้ และต้องเจอกับการโก่งราคาจากผู้ค้าคนรอง หรือต้องจ่ายค่าขนส่งจากผู้ขายปลีกออนไลน์

ในหลายรัฐ บริษัท แอบบอตต์ นิวทริชั่น คือผู้ทำสัญญาเพียงหนึ่งเดียวต่อครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งได้รับประโยชน์ผ่านโครงการช่วยเหลือทางโภชนาการแบบพิเศษแก่สตรี ทารก และเด็ก หรือ ดับเบิลยูไอซี นั่นหมายความว่า ผู้ปกครองที่ซื้อนมผงเด็ก ต้องทำตามขั้นตอนพิเศษในการติดต่อสำนักงานดับเบิลยูไอซีในพื้นที่ของพวกเขาสำหรับการหาช่องทาง หรือจับจ่ายด้วยเงินของตัวเอง

CNN

ตลาดนมผงเด็กของสหรัฐครองส่วนแบ่งโดยผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ไม่กี่แห่ง ซึ่งมีแอบบอตต์รวมอยู่ด้วย และเนื่องจากกฎข้อบังคับขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐ (เอฟดีเอ) การนำเข้านมผงเด็กจากประเทศอื่นจึงเป็นเรื่องที่เป็นได้ยากมาก

นายโรเบิร์ต คาลิฟฟ์ กรรมาธิการเอฟดีเอ กล่าวว่า เอฟดีเอจะให้รายละเอียดแผนการขยายการนำเข้านมผงเด็ก และ “การเพิ่มความยืดหยุ่น” สำหรับผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายภายในประเทศ เพื่อทำให้สินค้ามีวางขายมากขึ้น อีกทั้งยังทำงานร่วมกับผู้ผลิตรายใหญ่แห่งอื่น อาทิ มี้ด จอห์นสัน, เนสท์เล่, ดานอน และเพอร์ริโก เพื่อเพิ่มจำนวนสินค้า

นอกจากนี้ แอบบอตต์ เปิดเผยเมื่อกลางเดือนนี้ ว่าบรรลุข้อตกลงกับผู้มีอำนาจควบคุม เพื่อขอกลับมาเปิดโรงงานที่เมืองสเตอร์กิส ในรัฐมิชิแกน และจะกลับมาเริ่มการผลิตได้ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการอนุมัติของเอฟดีเอ แต่บริษัทจะต้องใช้เวลาอีก 6-8 สัปดาห์ ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ สั่งเพิ่มการนำเข้านมผงเด็ก เพื่อบรรเทาการขาดแคลนของสหรัฐ “ให้ได้ภายใน 1 สัปดาห์หรือเร็วกว่านั้น” และจะมีการให้ความช่วยเหลือด้านโลจิสติกส์ แก่ผู้ผลิตและผู้ขายปลีกเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS