ผลกระทบของเบาหวานชนิดที่ 1 ต่อสมรรถภาพทางเพศของวัยรุ่น เครื่องมือที่ใช้วัดระดับน้ำตาลในร่างกายและรายงานผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอด 24 ชั่วโมง (continuous glucose monitoring ; cgm) โดยจะเป็นเครื่องตรวจน้ำตาลแบบแปะ (sensor) ติดไว้ที่ชั้นใต้ผิวหนัง โดยตัวเครื่องจะมีเข็มเล็ก ๆ เจาะเข้าไปที่ตรงบริเวณผิวหนังด้านนอก จะทำการวัดระดับน้ำตาลและส่งค่าที่อ่านได้ไปยังเครื่องรับ (สมาร์ทโฟน) ที่เชื่อมต่อไว้ทุก 15 นาที ข้อดี คือไม่ต้องเจาะปลายนิ้วทุกเช้า และทำให้ทราบค่าระดับน้ำตาลในเลือดทั้งวัน ทำให้รู้ได้ง่ายว่า เมื่อกินอาหารอะไรแล้วทำให้น้ำตาลสูง

อย่างไรก็ตาม ประมาณร้อยละ 25 ของเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่ต้องการทั้งสองเทคโนโลยีในการรักษาโรคคือ การมีเพศสัมพันธ์ ยกตัวอย่างของผู้ป่วยที่กล่าวไว้เช่น ’ผมเป็นคนโสด ผมมีความกังวลที่จะต้องซ่อนอุปกรณ์จากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนใหม่“

มีรายงานว่า ประมาณร้อยละ 35-48 ของทั้งสองเทคโนโลยีรบกวนต่อการมีเพศสัมพันธ์ เพราะรบกวนต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย  ผู้ป่วยให้ความเห็นว่าตนเองเหมือนหุ่นยนต์และกลัวว่าจะมีจุดสนใจน้อยลง นอกจากนี้ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยเองหยุดการทำงานของอุปกรณ์ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ความสะดวกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์เป็นเหตุผลหลักสำหรับการเลือกวางตำแหน่งของอุปกรณ์ จากงานวิจัยของผู้ใช้อุปกรณ์พบว่า อายุเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จำนวนของคู่นอน ความบ่อยของการมีเพศสัมพันธ์ หรือความพึงพอใจไม่มีความแตกต่างจากผู้ไม่ได้ใช้อุปกรณ์

รูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ ในการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น ซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยวัยรุ่นจะกังวลใจอาการน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างมีเพศสัมพันธ์ มีงานวิจัยพบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยรายงานว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรงปานกลางเป็นครั้งคราว, ร้อยละ 35 ของผู้ป่วยรายงานว่ากลัวภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างมีเพศสัมพันธ์, ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยไม่ได้ระมัดระวังที่จะป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก่อนมีเพศสัมพันธ์ เช่นลดขนาดของอินซูลิน, ร้อยละ 92 ของผู้ป่วยไม่ได้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์, ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยไม่หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนมีเพศสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และคู่นอน มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และคู่นอน ได้รายงานว่า ร้อยละ 83 ของผู้ป่วยเปิดเผยว่าตนเองเป็นเบาหวานกับคู่นอนภายใน 1 เดือน ถ้าความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้ป่วยและคู่นอนดีเป็นกันเองจะเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์ของกายภาพและทางจิตวิทยาสำหรับ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ การควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ความสุขทางด้านอารมณ์ หมายถึง อารมณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันจริง ๆ ร้อยละ 33 ของคู่นอนมีความกังวลใจว่าผู้ป่วยจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การให้การศึกษาเพื่อการจัดการดูแลโรคเบาหวานด้วยตนเอง (Diabetes self-management education หรือ DSME) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกราย โดยคำจำกัดความของการให้การศึกษาเพื่อการจัดการดูแลโรคเบาหวานด้วยตนเอง คือกระบวนการต่อเนื่องในการส่งเสริมเอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้มีความรู้และความเข้าใจ และยังมีรายงานคู่นอนของผู้ป่วยไม่สนใจการให้การศึกษาเพื่อการจัดการดูแลโรคเบาหวานด้วยตนเองมากนัก

————————————
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล