ส่วนหนึ่งของแผนในวงกว้างคือ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาเยือนประทเทศซึ่งเป็นบ้านของยอดเขา 8 แห่งจาก 14 แห่ง ซึ่งสูงที่สุดในโลก มากขึ้น ด้านเจ้าหน้าที่ของรัฐกำลังโปรโมตบันจีจัมพ์, ร่มร่อน และกระโดดร่ม นอกเหนือจากการเดินป่าระยะยาวและการปืนเขาแบบดั้งเดิม ทรนาถ อาธิการี อธิบดีกระทรวงการท่องเที่ยวเนปาล กล่าว

“เรากำลังเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวใหม่ และการลงทุนในธุรกิจโรงแรมก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน” เขาบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ส ในกรุงกาฐมาณฑุ

นอกจากนี้ รัฐบาลเนปาลยังขอให้นักการทูตในต่างประเทศร่วมกัน เพิ่มการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ และให้คำมั่นด้านการผ่อนปรนมาตรการออกวีซ่า และเรียกร้องจีนซึ่งยังคงควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวด อนุญาตให้พลเมืองเดินทางออกไปท่องเที่ยวในต่างประเทศได้มากขึ้น

รัฐบาลเนปาลสั่งงดการปีนเขาและการเดินป่า เมื่อช่วงต้นปี 2563 เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 และ อาธิการี เรียกอัตราที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งว่าเป็น “การกระตุ้น”

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีชาวต่างชาติเข้าประเทศมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกันช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือคิดเป็นจำนวนเกือบ 79,000 คน และเขากล่าวว่า เขาคาดหวังว่าการฟื้นฟูจะเกิดขึ้นในเดือนถัดไป

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่แสดงยังคงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระดับก่อนเกิดการระบาด ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเปราะบางมากกว่าเดิม จนถึงหยุดชะงักในเวลานั้น เมื่อราคาสินค้านำเข้าทั้งน้ำมันดิบ, น้ำมันพืช และถ่านหิน เพิ่มสูงขึ้น

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลเนปาลประกาศคำสั่ง ห้ามนำเข้าสินค้าหรู ซึ่งรวมถึงรถยนต์ ไปจนถึงกลางเดือน ก.ค. นี้ ท่ามกลางเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่น้อยลง และภาระหนี้สินพี่เพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น เจ้าของโรงแรมหลายรายเตรียมพร้อมให้บริการสำหรับการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวที่หวังไว้

บินายัก ชาห์ จากสมาคมโรงแรมเนปาล (เอชเอเอ็น) กล่าวว่า ตอนนี้เนปาลสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 2.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 2 เท่า ของตัวเลขที่บันทึกไว้ในปี 2562 ที่จำนวน 1.2 ล้านคน

ขณะที่การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเนปาล อย่างไรก็ตาม มันก็ยังห่างไกลจากแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งนับเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เทียบกับราว 60% ซึ่งมาจากการส่งเงินกลับของชาวเนปาลที่ทำงานในต่างประเทศ

อีกทั้งตัวเลขที่กล่าวมายังลดลงในช่วงการระบาด ที่มีการบังคับชาวต่างชาติให้กลับประเทศ ส่งผลให้คนจำนวนมากของประเทศที่มีพลเมือง 29 ล้านคนแห่งนี้ ประสบความลำบาก

ในพื้นที่ภูเขา ที่ซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมาก ประชากรเกือบ 80% สูญเสียรายได้ในช่วงการระบาดและคำสั่งห้ามการเดินป่าระยะยาว และบริษัทที่พึ่งพาการท่องเที่ยวประมาณ 3,500 แห่ง ในพื้นที่ทาเมลของกรุงกาฐมาณฑุปิดตัวลง ตามประมาณการอุตสาหกรรม

แม้ตัวเลขนักท่องเที่ยวจะกลับมาเพิ่มขึ้น แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังคงมีความกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS