นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “สยามคูโบต้ายังคงนำเสนอจุดแข็งของนวัตกรรมสินค้าที่ตอบโจทย์การทำงานของเกษตรกรในแต่ละกลุ่มให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันเรายังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำการตลาดที่เน้นสร้างความยั่งยืนให้ลูกค้าและสังคมเช่นกัน สำหรับแผนทิ้งทวนก่อนปิดปีนี้เราจึงได้เน้นการทำตลาดด้วยกลยุทธ์ “Sustainable Vibes หรือการตลาดใหม่ที่มุ่งสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ” บนแนวคิดของความยั่งยืนที่เป็นมากกว่าการทำธุรกิจ แต่เรายังสามารถมีส่วนช่วยสร้างประโยชน์ให้กับสังคม รวมถึงสะท้อนให้เห็นความรักความผูกพันระหว่างแบรนด์กับลูกค้าที่มีมาอย่างยาวนาน

โดยตลอดปีนี้เราได้ทำแคมเปญเพื่อสร้างประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมต่อยอดทุกความเชื่อมั่นใจและไว้วางใจ ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Core Value ที่ทำให้สยามคูโบต้าแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในตลาด อาทิ แคมเปญ “No Farmer, No Us : ไม่มีเขา ไม่มีเรา” เป็นแคมเปญที่มุ่งเน้นให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าของเกษตรกร ผู้เป็นแรงสำคัญเบื้องหลังการผลิตอาหารที่ปลอดภัย และเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แคมเปญนี้ยังสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดเกษตรกรรุ่นใหม่ เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรและความยั่งยืนด้านอาหาร แคมเปญ Turn waste to Agri-Wear โดยร่วมมือกับ GREYHOUND ORIGINAL ต่อยอด “ฟางข้าว” เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จุดประกายการ Upcycling เศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์กลายเป็นเครื่องแต่งกายสไตล์สตรีทแฟชั่น เพื่อลดผลกระทบจากการเผา พร้อมสนับสนุนงานวิจัยและงานฝีมือช่างทอผ้าไทย และทำให้แบรนด์คูโบต้าเข้าถึงกลุ่มคนเมืองและคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ล่าสุดเรายังได้นำเอา Music Marketing มาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการสื่อสารสินค้าแทรกเตอร์และรถเกี่ยวนวดข้าว สร้างการจดจำแก่กลุ่มเป้าหมายผ่านสื่อออนไลน์อีกด้วย

สำหรับงานอะไหล่และบริการหลังการขายได้จัด โปรโมชันมัดใจลูกค้า อาทิ แพ็กเกจอะไหล่บำรุงรักษาแทรกเตอร์และรถเกี่ยวนวดข้าว แคมเปญดูแลรถขุดคูโบต้าด้วยใจ รวมถึงสร้างโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงอะไหล่แท้ได้ง่ายขึ้นด้วยสินเชื่ออเนกประสงค์ มั่นใจด้วยช่างมืออาชีพกว่า 1,800 คน จากศูนย์บริการมาตรฐาน 162 แห่งทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันสยามคูโบต้ายังมุ่งมั่นในการขยายฐานลูกค้าผ่านประสบการณ์จริง จากความต้องการจริงของลูกค้าที่อยากทดลองใช้สินค้าบนพื้นที่ทำงานจริง เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ปิดท้ายด้วยแคมเปญสุดยิ่งใหญ่ส่งท้ายปีกับกิจกรรม “คันที่ใช่ พร้อมลุยทั่วไทย” ตลอด 8 จุดทั่วไทย ระหว่างเดือนกันยายน – พฤศจิกายนนี้ โดยนำเสนอเครื่องจักรกลการเกษตรที่ตอบโจทย์การเป็น “คันที่ใช่” พร้อมพบกับนวัตกรรมแทรกเตอร์ไฟฟ้าและแทรกเตอร์ไร้คนขับที่นำมาให้ชมและทดลองขับอย่างใกล้ชิด และไฮไลท์สำคัญของงานนี้ คือ การแข่งขันแทรกเตอร์เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเข้าชิง คูโบต้าพันธุ์แกร่งปีที่ 2 รอบอาเซียนในต้นปีหน้า ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ผ่านการนำเสนอ “กีฬาของเกษตรกรไทย” ในรูปแบบ Sport Marketing

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ภาคการเกษตรยังคงมีความท้าทายอย่างต่อเนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต ทว่ายังได้รับปัจจัยบวกจากราคาผลผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดด้านการส่งออก โดยเฉพาะตลาดข้าวและอ้อยที่มีราคาเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรมีกำลังในการซื้อ สร้างแรงหนุนให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มรถเกี่ยวนวดข้าว รถขุดขนาดเล็ก และโดรนการเกษตร ส่งผลให้ช่วงสามไตรมาสที่ผ่านมา เรายังรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรในทุกกลุ่มสินค้า และเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งครองใจเกษตรกรไทย ด้วยยอดขายสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น 13% ในขณะเดียวกัน เรายังมุ่งมั่นพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งานของเกษตรกรไทย รวมถึง Young Smart Farmer อาทิ สินค้าแทรกเตอร์ และรถเกี่ยวนวดข้าวรุ่นตู้แอร์ โดรนการเกษตรรุ่น T25 และ T50 สำหรับในกลุ่มสินค้าเครื่องยนต์ สยามคูโบต้าประสบความสำเร็จจากการสร้างยอดขายเครื่องยนต์คูโบต้า 3.5 ล้านเครื่อง เราจึงได้จัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าเกษตรกรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้ความไว้วางใจตลอดมา สำหรับปลายปีนี้ สยามคูโบต้าเตรียมวางจำหน่ายแทรกเตอร์ที่ตอบโจทย์การทำงานของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่รายใหญ่โดยเฉพาะ เน้นประสิทธิภาพการทำงานที่มาพร้อมฟังก์ชันและห้องโดยสารที่สะดวกสบาย

สำหรับสินค้าเทคโนโลยีการเกษตร อาทิ โดรนการเกษตร ถือว่าประสบความสำเร็จเช่นกัน แม้เราจะเริ่มทำการตลาดมาเพียง 3 ปี นอกจากนี้ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจ ว่าสัดส่วนของลูกค้าใหม่จะอยู่ในช่วง Gen Y-Z หรือช่วงอายุ 20-43 ปี สูงถึง 65% สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่เปิดใจรับเทคโนโลยีการเกษตรมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสยามคูโบต้ามีฐานลูกค้าเกษตรกรไทยแล้วกว่า 570,000 ราย ดังนั้นต้นปีที่ผ่านมากลยุทธ์หลักเราจึงมุ่งไปที่การขยายฐานลูกค้าโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรหน้าใหม่ การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรให้ทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้า IoT เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้กลับมาเข้าภาคเกษตรเพิ่มมากขึ้น